โรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการ   ที่มีกลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Share on

 9,818 

โรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา จ.เชียงราย โรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการ   ที่มีกลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 

วัดหนองบัววิทยาเป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงราย ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชุมชนชาวเขาที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ นักเรียนที่เข้ามาในโรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมเรียนรู้ภาษาไทย เนื่องจากโรงเรียนใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการจัดเรียนการสอน 

สภาพปัจจุบันของโรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา) พบว่า การจัดการศึกษายังไม่ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียนได้ครบทุกคน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลัก โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มีระดับต่ำ ในด้านสมรรถนะและขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เช่น ความเข้าใจเรื่องหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนยังยึดหนังสือเรียนเป็นหลัก ด้านการบริหาร ครูมีภาระงานอื่นมากกว่างานสอน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและความเหลื่อมล้ำ 

ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีแนวคิดการปฏิรูปโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาให้มีประประสิทธิภาพสุงสุดด้วยกระบวนการ SOAR Analysis ในอดีตที่ผ่านมาโรงเรียนได้ใช้เทคนิค SWOT  Strengths (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน) Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค) แต่กระบวนการทำงานเดินไปได้ช้าจึงได้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค ikigai ในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราถนัด ทักษะที่เราเชี่ยวชาญ หรือสามารถทำได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่ฝืนความรู้สึก สิ่งที่ถนัดไม่จำเป็นต้องจับต้องได้ หรือมุ่งเน้นเฉพาะด้านวิชาการเท่านั้น อาจรวมถึง การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับคนอื่นง่าย มีความคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้ดี จึงดำเนินการวางกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนหนองบัวพิทยาให้มีองค์ความรู้ที่โดดเด่นเรื่อง ‘เครื่องเคลือบเวียงกาหลง’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ทางโรงเรียนพัฒนามาเป็นเวลากว่า 10 ปี จนสามารถพัฒนาเป็นการเรียนรู้รายวิชาช่าง 10 หมู่ของโรงเรียน และต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ให้วัดขยายตัวเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ให้สามเณรได้เผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่ชุมชุนได้เรียนรู้ และสร้างให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเครื่องเคลือบเวียงกาหลง  โดยมีเป้าหมายให้สามเณรนักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ท่านพระอาจารย์ผ่านการอธิบายให้เห็นภาพ 3 อิ่ม 

อิ่มที่ 1อิ่มท้อง’ เณรมีรายได้จากการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง

อิ่มที่ 2 ‘อิ่มสมอง‘ มีองค์ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน รู้จักรากฐานและบริบทของชุมชน 

อิ่มที่ 3 ‘อิ่มใจ’ มีความภูมิใจในความเป็นคนเวียงกาหลง สามารถสื่อสารและต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชนได้

ในด้านการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนวัดหนองบัวพิทยาและการพัฒนาโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้เกิด NONGBUA Model ซึ่งเป็นการพัฒนาและวางกลยุทธ์ของโรงเรียนเพื่อให้เกิดจากการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย และการบูรณาการการเรียนรู้รายวิชาสามัญกับองค์ความรู้และเนื้อหาการผลิต

N oble Leader ผู้นำมีคุณธรรม

O utstanding Followers ผู้ตามที่ยอดเยี่ยม

N ormalize Engagement การมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ

G ood Communication การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

B elonging ความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วม

U ltimately การประเมินผลท้ายสุด

A dvancement การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แนวปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา

โรงเรียนวัดหนองบัวพิทยาได้คำนึงถึงการพัฒนาการดำเนินงานบนฐานของความยั่งยืน จากที่ได้ศึกษาประเพณีวัฒนธรรมของล้านนา พบว่า การจัดกิจกรรมบางกิจกรรมใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่าและทำลายสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา) จึงได้จัดทำโครงการผางประทีปบูชาแม่กาสู่การพัฒนา “BCGT model” ในช่วงประเพณียี่เป็งมีการผลิตดินเผาเพื่อใส่เทียนบูชาแม่กาของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ตามตำนานอานิสงส์ผางประตี๊ด และตำนานแม่กาเผือกของเวียงกาหลงเป็นการใช้ดินเผาจำนวนมากใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งแต่ละปีลดประมาณขยะได้ 100 % และสามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียนได้ 

WIANGKALONG Model 

ที่มาภาพและข้อมูล : ส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง โรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา

 9,819 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า