การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)   เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักเรียนตามแนวทางการสะท้อนคิดแก้ปัญหา (Reflective Problem Solving Approach)

Share on

 4,141 

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จำนวน 6 แผน  เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักเรียนตามแนวทางการสะท้อนคิดแก้ปัญหา (Reflective Problem Solving Approach) 

 พระมหาอรรถชัย ญาณธโร พระอาจารย์โรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา วัดธาตุพระอารามหลวง สอนในรายวิชาภาษาไทยระดับชั้น ม.1 – 3 และสอนบาลีระดับชั้น ม.ปลาย การเรียนการสอนก่อนหน้าที่เข้าร่วมโครงการ พระครูสอนแบบปกติเปิดตำราสอนเป็นชุดรายวิชาไป พอต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนรูปแบบที่เน้นไปที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็เกิดความกังวล เพราะบริบทผู้เรียนในชั้นเรียนส่วนใหญ่แทบต้องจับมือสอน จับมือเขียน ในรายวิชาภาษาไทยที่นักเรียนนั้นก็ไม่ค่อยชอบในชุดวิชานี้เท่าไหร่ และทักษะสามเณรนักเรียนก็มีความแตกต่างกันในหลายระดับ ตั้งแต่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จนถึงเด็กที่เรียนรู้เร็ว 

พอหลังเข้าร่วมโครงการ พัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง ก็พบว่าพฤติกรรมของสามเณรนักเรียนเพลิดเพลิน กระตือรือร้นอยากเรียนมากขึ้น มีอิสระในการเรียนรู้ เริ่มมีกระบวนการคิด วิธีการของตนเอง แต่อาจจะติดเรื่องการอ่าน การเขียนหนังสือ  ที่ยังต้องพัฒนาทักษะในด้านนี้อยู่ 

บรรยากาศการเรียนการสอน

ปัญหาเหล่านี้ได้แก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักเรียนตามแนวทางการสะท้อนคิดแก้ปัญหา (Reflective Problem Solving Approach) จำนวน 6 แผน 

พระมหาอรรถชัยจัดกลุ่มสามเณรนักเรียนตามทักษะที่ถนัด พูดเก่ง อ่านเก่ง เขียนเก่ง และอ่อน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาจุดแข็งและเติมเต็มจุดอ่อนของสามเณรในชั้นเรียนภาษาไทย โดยให้ทีมนิเทศได้วางแผนร่วมกับครูและผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ วางแผนการพัฒนาสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาผลงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งแต่ละแผนประกอบด้วย 6 แผนดังนี้ 

แผนที่ 1 เรื่อง การเขียนเรียงความ (แผนผังความคิด พิชิตการเขียนเรียงความ)

แผนที่ 2 เรื่อง บอกเล่าประการณ์ สู่งานเขียน 

แผนที่ 3 เรื่อง เพื่อนคู่คิด พิชิตเขียนย่อความ

แผนที่ 4 เรื่อง สื่อสารผ่านจดหมาย

แผนที่ 5 เรื่อง การเขียนรายงานและการเขียนโครงงาน

แผนที่ 6 เรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็นจากบทความและข่าว 

ในการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นได้นำกระบวนการ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบสะท้อนคิดแก้ปัญหา ร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ปรากฎผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งครูผู้สอนและผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทักษะการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ภาษาไทย ทักษะครูเกิดการพัฒนาในด้านการวางแผนการสอนร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ เช่น การใช้วรรณคดีไทยหรือบทความร่วมสมัยในการอภิปรายในชั้นเรียน 

ครูผู้สอนได้พัฒนาทักษะการออกแบบการเรียนสอนในเรื่อง การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) และการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ให้มีความกระตือรือร้นในกระบวนการเรียนรู้ภาษาไทยมากขึ้น ทั้งการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การวิเคราะห์วรรณกรรม และการนำเสนอความคิดเห็น จนผู้เรียนเกิดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และตีความข้อความบทกวีที่ซับซ้อน

การทำงานระหว่างครูผู้สอนในโรงเรียนเกิดการทำงานร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อผู้เรียน เช่น แบบฝึกหัดที่เสริมทักษะการอ่านอย่างลึกซึ้ง หรือการจัดทำแนวทางประเมินผลแบบ Rubric ทั้งยังร่วมมือพัฒนากิจกรรมการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 

เรียนรู้จากการตั้งคำถาม 

แม้จะมีการเรียนรู้ในวิชาหลัก แต่ก็มีคำถามเกี่ยวกับวิชาด้านทักษะอาชีพที่สามเณรสนใจอยากต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นไป 

พระมหาอรรถชัย “หัวข้อหรือสิ่งที่สามเณรนักเรียนสนใจ ปกติจะแยกย่อยเป็นรายวิชา สิ่งที่สามเณรสนใจเป็นด้านทักษะวิชาชีพที่อยากจะเติมเต็มที่อยากจะต่อยอดในระดับการเรียนที่สูงขึ้นไป แต่ก็มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณและอุปกรณ์ที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทำให้ขาดประสบการณ์การเรียนแบบลงมือจริงในบางรายวิชา ซึ่งในส่วนนี้สามเณรและครูก็ช่วยกันค้นคว้าและเรียนรู้เพิ่มเติมไปด้วยกัน และได้โอกาสจากการเข้าร่วมโครงการที่เข้ามาสนับสนุนที่โรงเรียน”

เสียงสะท้อนจากสามเณร “ชอบมากครับ เปลี่ยนไปมาก ไม่มีการบังคับ มีอิสระในการเรียนมากขึ้น พระอาจารย์สอนสนุกขึ้น แต่ก็ตั้งใจเรียนครับ มีพื้นที่ให้คุยแลกเปลี่ยนในห้องเรียนกับพระอาจารย์มากขึ้น มีโอกาสพุดคุยแลกเปลี่ยนกันได้มากขึ้นเหมือนเพื่อนคุยกัน  สามารถเสนอหัวข้อที่อยากเรียนหรือสนใจกับพระอาจารย์ครับ แต่บางทีอาจจะมีดื้อไปบ้างตามช่วงวัย แต่ก็พากันดึงกลับมาได้”

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

พระมหาอรรถชัย ญาณธโร กล่าวว่า  “ตั้งแต่ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน อาตมาสังเกตเห็นได้ชัดเจน สามเณรนักเรียนตั้งคำถามในห้องเรียนมากขึ้น มีแนวความคิดที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง กล้าแสดงออก พูดคุยแลกเปลี่ยนมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถาม ‘ทำไม’ ‘เพราะอะไร’ ‘สรุปความรู้เป็นของตนเองได้’ ‘สามเณรสนุกกับการเรียนรู้มากขึ้น’

ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ : รายงานผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภายใต้โครงการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง โรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา จังหวัดขอนแก่น

 4,142 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า