โรงเรียนสารคุณวิทยา จ.ขอนแก่นโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของสามเณรนักเรียน

Share on

 1,572 

บริบทโรงเรียนสารคุณวิทยา

สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทุกฝ่ายต้องปรับตัวใช้ระบบอินเตอร์เน็ตและการเรียนการสอนออนไลน์อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความท้าทายทั้งสำหรับครูและสามเณรนักเรียน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างมีปัญหาในการทำความเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อนของวิชาคณิตศาสตร์ผ่านระบบออนไลน์ ครูผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมสื่อการสอนออนไลน์และติดตามผลการเรียนรู้ของสามเณรนักเรียนเป็นจำนวนมาก

จากผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ในบางระดับชั้นเรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางวิชาคณิตศาสตร์ของสามเณรนักเรียนลดลง เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบเชิงลบที่ส่งผลในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น 

1) ความแตกต่างทางเศรษฐกิจและความไม่เท่าเทียมกันเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์

2) การสอนออนไลน์เป็นความท้าทายของการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสามเณรนักเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์หรืออินเทอร์เน็ต 

3) ความกังวลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์และขาดแรงจูงใจในการเรียน ความยากของเนื้อหา หรือการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น

ประเด็นข้างต้นทำให้ผู้บริหารโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามเณรนักเรียนได้รับความรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีทักษะทางคณิตศาสตร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในอนาคต

แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาผู้เรียน

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนสารคุณวิทยา เน้นไปที่แนวทางการสอนที่สนับสนุนให้นักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น ทาง ผศ.ดร.สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง ได้สังเคราะห์แนวทางการสอน “การสะท้อนคิดแก้ปัญหา” หรือ Reflective Problem – Solving Approach (RePA) ประกอบด้วย ขั้นนำเสนอปัญหา (Posing Problem) ขั้นลงมือแก้ปัญหา (Solving Problem) ขั้นแลกเปลี่ยนแนวคิด (Sharing Ideas) ขั้นสรุปบทเรียน (Summarizing Lesson) และขั้นสะท้อนคิด (Reflecting Lesson) และเพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพได้นำแนวคิดของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  มีการร่วมกันสะท้อนคิด การลงไปเยี่ยมติดตามเพื่อเรียนรู้ร่วมกันที่หน้างานจริงจนกว่าจะเห็นผลของการปฏิบัติที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือได้แนวปฏิบัติที่ดีที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (Best practice) 

วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ คุณครูกิตติ สมอุ่มจารย์ (Model teacher) โรงเรียนสารคุณวิทยา ได้เล่าผลการใช้ Active Learning กับการใช้การแก้สถานการณ์ ให้ทาง I AM KRU. “สมรรถนะที่ใช้เป็นเรื่องของการร่วมกันทำงานเป็นทีมเพื่อให้ผู้เรียนแก้โจทย์สถานการณ์ในการเรียนรู้ของแต่ละแผน ผู้เรียนจะได้รับโจทย์ เริ่มจากงานเดี่ยวที่ทุกคนเป็นผู้ริเริ่มก่อน จากนั้นมาแลกเปลี่ยนในงานกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนสะท้อนคิดในมุมของตน ว่าได้แนวคิดการแก้ปัญหาอย่างไร อาจมีการนิ่งเฉยหรือมีการขัดแย้งในแนวคิดกันบ้าง แต่สุดท้ายผู้เรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้แนวคิดที่เหมาะสมลงตัวเพื่อแก้ปัญหาในโจทย์นั้น ๆ”

นอกจากประเด็นในด้านการพัฒนาวิชาการแล้วโรงเรียนสารคุณวิทยายังได้ดำเนินการพัฒนาในด้านการบ่มเพาะปัญญาด้วยหลักธรรม พัฒนานวัตกรรมสู่ความเป็นมืออาชีพเพื่อสังคมโลกที่ยังยืน ซึ่งสอดคล้องกับคติพจน์ของโรงเรียนสารคุณวิทยา โดยมีประเด็นในการพัฒนาดังนี้ 

วิชาการเป็นทุน หมายถึง ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการศึกษาเล่าเรียนเปรียบเสมือนทุนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์ เพราะความรู้และทักษะเหล่านี้จะนำไปสู่โอกาสในการพัฒนาตนเองและอาชีพในอนาคต 

  • สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้แบบองค์รวม
  • สร้างโอกาสในการทำงานและศึกษาต่อ
  • ครูและนักเรียนเป็นผู้มีความรู้และคุณธรรม
  • ครูและนักเรียนเป็นผู้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
  • ครูและนักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ 21

สารคุณเป็นฐาน หมายถึง เป็นฐานแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้โรงเรียนมีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารจัดการตนเองมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โรงเรียนมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนได้อย่างตรงจุด

  • ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนา
  • พัฒนาโรงเรียนในทุกด้าน ทั้งด้านวิชาการ บริหารจัดการ และสภาพแวดล้อม
  • เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
  • โรงเรียนสามารถกำหนดนโยบายและดำเนินกิจกรรมต่างๆ 
  • ผลงานเป็นตัวชี้วัด หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือการกระทำของบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถ ความพยายาม และความสำเร็จของบุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ผลงานจึงเป็นเกณฑ์สำคัญในการประเมินคุณค่าและศักยภาพของบุคคลหรือองค์กร
  • คุณภาพของผลงานเป็นที่ประจักษ์
  • ปริมาณของผลงานสมดุลกับคุณภาพ
  • ความสอดคล้องของผลงานกับเป้าหมาย
  • ผลกระทบของผลงาน

โมเดลกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบสะท้อนคิดแก้ปัญหาร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 
ของโรงเรียนสารคุณวิทยา  แผนกสามัญศึกษา

ผลของการใช้นำ PLC นั้นช่วยให้ครูและนักเรียนสามารถร่วมมือกันวางแผนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้ดีขึ้นส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยช่วยพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีขึ้น และยังส่งผลให้ครูสามารถวางแผนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนทั้งยังช่วยให้ครูปรับเปลี่ยนการสอนในลักษณะที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และส่งเสริมการทำงานร่วมกันในกลุ่มนักเรียนและครูอย่างยั่งยืน

ที่มาข้อมูล : “รายงานผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้” ภายใต้โครงการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง 

 1,573 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า