อุดช่องว่างการศึกษาและความเหลื่อมล้ำด้วยเครื่องมือที่ชื่อ “นวัตกรรม”

Share on

 510 

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ได้เล่าถึงที่มาของการทำงานเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) 

นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นมาจาก Pain Point ที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นจุดเริ่มของนวัตกรรมต่าง ๆ ของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต จากการได้เข้าร่วมทำงานกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี ( Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนการสอนที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้โดยมีครูเป็นออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับทักษะวิชาชีพ พร้อมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ล้วนเสริมสร้างให้ฐานรากการคิด วิเคราะห์ และพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ มาปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ๋งเป็น Pain Point ที่ต้องหาคานงัดเพื่อแก้ปัญหาการศึกษาโดยในประเทศไทยนั้นมีหัวข้อหลักที่ดำเนินการ 4 เรื่อง

  1. การประเมินการศึกษาที่ไม่ตอบรับกับผลลัพธ์พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน (VASK) และไม่ตอบโจทย์ด้าน ทักษะของแรงงานโลก (Skills Set)
  2. ความเข้าใจเรื่องการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ต้องการเรียนรู้แบบ  Active แต่การศึกษากลับใช้การเรียน แบบครูเปิดตำราสอน (Lecture) ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่างที่ควรจะเป็น
  3. ด้านนวัตกรรมเชิงกระบวนการเหนี่ยวนำให้เกิดความรู้เกิดความเข้าใจเพื่อให้เกิดนิเวศทางการศึกษา 
  4. การพัฒนาทักษะครูที่วิธีการสอนไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูต้องเพิ่มศักยภาพเปลี่ยนบทบาทเป็นครูโค้ชที่สามารถ แนะนำส่งต่อให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ เกิดชุดความคิด ทัศนคติทางการเรียนรู้ได้ดีกว่าเดิม

จากจุดเริ่มต้นนี้ได้กลายเป็นการทำงานที่ช่วยพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของผู้เรียนให้ยั่งยืน เพราะนวัตกรรมหนึ่งเรื่องที่คิดค้นขึ้นมานั้นสามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้มากกว่าหนึ่งประเด็น เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวหรือบางเรื่องก็ได้มากกว่านั้น
  

อ.ธันยวิช เล่าถึงนวัตกรรมที่เป็นแกนหลักของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคตคือนวัตกรรมโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน หรือ Community Innovation Project หรือ CIP โมเดลการเรียนรู้ที่ถ้าดูผิวเผินเหมือนเป็นนวัตกรรมที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงานชุมชนทั่วไป แต่แท้จริงแล้วเป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการที่ไปหนุนเสริมกลไกของนวัตกรรมตัวอื่น ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่ให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติแบบ Project Approach ครูเกิดการเปลี่ยนกระบวนการสอนแบบโค้ช และหน้าที่สำคัญของครู จะเชื่อมให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่เรียกว่า All for Student ได้อย่างไร 

การติดตามผลประเมินภายในเพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย ครั้งที่ 1
ของโครงการ TSQP รุ่นที่ 2 ปีที่ 3
ที่มา: มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต 

เรียนรู้เป็นแบบ Passive learning 
จะสร้างพฤติกรรมเด็กที่ไม่สามารถวัดผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ได้

เมื่อนวัตกรรมของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคตต้องประยุกต์เข้ากับโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (Teacher and School Quality Program: TSQP) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เบื้องต้น อ.ธันยวิช เล่าว่าการนำนวัตกรรมไปใช้นั้นมีรูปแบบและแตกต่างกับโรงเรียนทั่วไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 

1) โรงเรียนในโครงการ TSQP ที่มีลักษณะเป็นข้อตกลงร่วมกันกับภาคีเครือข่ายโดยทางมูลนิธินั้นทำงานในลักษณะนักสร้างและเป็นเจ้าของความรู้ร่วมกับโรงเรียน การทำงานจึงต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์กับโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อวิเคราะห์ว่าจะหนุนเสริมโรงเรียนในด้านใดได้ หลังจากนั้นก็จัดกลุ่มทั้ง 125 ที่เป็นโรงเรียนเครือข่าย TSQP และโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างอิสระอีก 7 โรงเรียน เพื่อจัดชุดยาเสริมทางนวัตกรรมที่เหมาะกับความต้องการของโรงเรียน
 

2) สำหรับโรงเรียนนอกโครงการนั้นเป็นลักษณะการทำงานแบบหนุนเสริมตามความต้องการ  (On Demand) โรงเรียนวิเคราะห์ตนเองมาว่าต้องการหนุนเสริมตรงไหนอย่างไร ต้องการเน้นในประเด็นไหน ทางมูลนิธิก็นำมาวิเคราะห์อีกชั้นเพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ จากนั้นนำนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ผ่านการดำเนินงานตั้งแต่จัดการอบรมแนะนำนวัตกรรม รู้จักการใช้ และการดัดแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการ  

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการยกระดับคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว
ที่มา: มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต 

ซึ่งการประเมินโรงเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการทางมูลนิธินั้นมีเกณฑ์วัดระดับคุณภาพโรงเรียน เครื่องมือการประเมินที่มีทั้งการประเมินแบบผลรวม (Summative Assessment)  การวัดผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Formative Assessment) ใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)  มีการประเมินครอบคลุมทุกด้านหรือไม่ และคุณครูที่เป็นครูโค้ชนั้นมีการให้ฟีดแบคเพื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างไร (Constructive Feedback) โดยการประเมินนั้นเน้นไปที่พฤติการของครูที่เกิดขึ้นในโรงเรียนที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณภาพของโรงเรียนอยู่ในระดับใด หรือต้องการการปรับปรุงในด้านใด ทั้งพิจารณาเรื่องความสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเรื่อง Whole School Approach ที่ทั้งโรงเรียนร่วมมือพัฒนากันทั้งโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ถ้าหากยังไม่ครบทางมูลนิธิก็จะนำนวัตกรรมเข้าไปหนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ 

ในสุดท้ายนี้ อ.ธันยวิช ยกตัวอย่าง Good Practice นวัตกรรมของมูลนิธิในหลายตัวอย่างการนำไปใช้ได้อย่างเข้มแข็งเช่น โรงเรียนบ้านสามยอด จ.กาญจนบุรี ที่นำนวัตกรรมยุวนวัตกรสร้างชาติ (อสม. ทางการศึกษา) ไปใช้ในช่วงโควิด -19  ที่คุณครูเปลี่ยนตัวเองเป็นโค้ชเด็กชั้นมัธยมมาเป็น อสม. ทางการศึกษา เพื่อให้เด็กกลายเป็นครูไปสอนตามหย่อมบ้าน แม้ปัจจุบันสถานการณ์โควิดดีขึ้นมากแล้ว อสม. ทางการศึกษา โครงการนี้ก็ยังดำเนินการอยู่เพราะได้ผลการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กเขาจะมีพูดภาษาเดียวกัน เข้าใจกันไวถ่ายทอดกันได้ง่าย อีกตัวอย่างน่าสนใจที่โรงเรียนวัดสันติคีรีรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เน้นการเปลี่ยนครูให้เป็นโค้ชพร้อมสร้างห้อง FAB Studio ที่มีอุปกรณ์เครื่องมือช่างครบมือ ออกแบบนวัตกรรมและสร้างเครื่องปลูกผักบุ้ง Auto Microgreen พร้อมเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตรมาให้ความรู้เด็ก ๆ เพื่อให้เด็กนำไปสร้างองค์ความรู้ของตนเองและสร้างทักษะอาชีพได้

Best Practice ของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต
คือโรงเรียนนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้จนเป็นนวัตกรรมของตนเอง

ถ้าถามว่าโรงเรียนใดคือ Best Practice ของมูลนิธิ อ.ธันยวิช กล่าวว่าตัวอย่างของ  Best Practice ของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคตนั้น คือการที่โรงเรียนลองใช้นวัตกรรมและนำไปต่อยอดประยุกต์เป็นนวัตกรรมของตนเองที่ดีกว่าและเหมาะกับบริบทของโรงเรียน เช่นโรงเรียนบ้านสันทรายคองน้อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ใช้เครื่องมือเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิเคราะห์ในเว็บไซต์ของ Galaxy of Creativity ไปพัฒนาห้องเรียนและนักเรียน อีกความน่าสนใจคือของโรงเรียนบ้านขุนแปะ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำนวัตกรรมของลำปลายมาศที่มีจุดแข็งเรื่องจิตวิญญาณโดยนำแนวปฏิบัติมาผสมผสานกับนวัตกรรมโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน หรือ Community Innovation Project : CIP ของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต จนกลายเป็นนวัตกรรมของตนเอง เป็นเรื่องที่มูลนิธิยินดีมากที่เห็นโรงเรียนสามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมของตนเองได้

ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของมหาวิทยาลัยและมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคตได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการศึกษาไทยโดยการขับเคลื่อนคุณภาพโรงเรียน โดยใช้นวัตกรรม “เครื่องมือหลัก” เพื่อใช้พัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบโดยมีเป้าหมายพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนแบบ Whole Child Development ต้องมีทั้ง Knowledge ความรู้  Skill ทักษะ Attitude ทัศนคติ และ Values เจตคติ คุณลักษณะที่สำคัญต่อพัฒนาอนาคตประเทศและพร้อมเป็นประชากรโลกที่มีคุณภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมอบรมเสริมสร้างทักษะสำหรับความพร้อมเพื่ออนาคตด้านต่าง ๆ ได้ที่ 

https://www.facebook.com/FSF.THAILAND

รับชมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 นวัตกรรมประจัญบาน โดยมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต “เพื่อเด็กทุกคน : บทเรียนจากโรงเรียนพัฒนาตนเองรุ่นที่ 1”

https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=3413094008923733

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า