COPILOT AI ผู้ช่วยครูแก้ปัญหาห้องเรียน

Share on

 8,728 

Copilot AI ผู้ช่วยครูแก้ปัญหาห้องเรียน

คำว่า ‘เทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องคำว่าปัจจุบัน’ นั่นหมายความว่าในทุก ๆ วันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงคำว่าเทคโนโลยีได้ เพราะเป็นเครื่องมือที่แฝงอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แค่คุณเห็นบทความที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ก็เป็นเรื่องของเทคโนโลยี Artificial intelligence (AI) ที่วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสิร์ฟสิ่งที่คุณสนใจให้คุณเห็น คุณอ่าน! 

ท่ามกลางกระแสของเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งและมีคุณประโยชน์มหาศาล และสามารถช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเราได้ในหลายเรื่องขึ้นอยู่กับความสามารถของเทคโนโลยีของผู้ใช้เอง เมื่อต้านทานไม่ไหวก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี การปรับตัวและการเรียนรู้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะหยิบใช้ความสามารถของเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น และตอนนี้เท่าที่ทราบกันดีว่า AI  กำลังเป็นเครื่องมือสำคัญด้านการศึกษาที่จะช่วยลดภาระการทำงานของครู และช่วยสร้างประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้จึงเกิดเป็นที่มาของ Workshop ในวันนี้ 

สำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ชวนคุณครูผู้เคยได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี (Princess Maha Chakri Award : PMCA) เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบสื่อการสอนผ่านการใช้ ‘AI’ Microsoft Copilot ซึ่งมีการออกแบบกระบวนการ ideation workshop โดยทีม Equity Lab สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (Microsoft Thailand) แนะนำวิธีการใช้งาน Copilot AI ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับนำไปใช้ออกแบบสื่อการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

AI ช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้อย่างไร 

AI แก้ไขปัญหาการศึกษาได้ในรูปแบบใดบ้าง วันนี้ คุณมอส นพดล รัตนวิเศษรัตน์ ทางผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท ไมโคร ซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มาบรรยายให้ความรู้การใช้ Copilot AI ให้กับคุณครูที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเปิดทักษะด้านเทคโนโลยี เรียนรู้ ทดลองศักยภาพของ AI Copilot ว่ามีฟังก์ชันการทำงานที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาครูได้แค่ไหน ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในช่วงที่ 2 กับ Workshop ใน 3 โจทย์ที่ต้องนำ Copilot ออกแบบ IDEATION แก้ไขปัญหาในห้องเรียน ซึ่งครูที่เข้าร่วมในวันนี้เป็นครูกลุ่มแรก ๆ ที่ได้เรียนรู้จาก บ.ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กับ AI Generative ตัวใหม่ 

ซึ่งโจทย์สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นโจทย์ที่เป็นปัญหาที่ทุกสถาบันการศึกษาต้องพบเจอ โจทย์ที่เป็น Insight Group จากการเก็บเป้าหมายของกลุ่มตัวอย่างของครูชั้นมัธยมต้น และนักเรียนทุนเสมอภาค ในโรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่ที่แตกต่างกัน 3 จังหวัด 1) อุดรธานี 2) กาญจนบุรี 3) พังงา ซึ่งเป็นความท้าทายของครูที่จัดการเรียนการสอนว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยนักเรียนในความดูแลได้อย่างไร

AI Copilot นี้มีฟังก์ชันการทำงานอย่างไรมาทางคุณมอส ได้แนะนำอรรถประโยชน์ที่จะช่วยครูในหลาย ๆ ด้าน ผู้สนใจทดลอง สามารถเข้าใช้งานได้ที่ลิงก์ Copilot (microsoft.com

(จำเป็นต้องมีอีเมลของ microsoft/live/window/outlook หรืออีเมลองค์กรที่ร่วมกับ Microsoft และหากเปิดผ่านบราวเซอร์ Microsoft Edge จะได้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด)

Interface ของ Copilot

ระบบการทำงานของ Copilot นั้นมีการทำงานคล้ายคลึงกับ Generative AI เช่น ChatGPT ที่ช่วยสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ ทั้งข้อความ ภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามความต้องการใช้งานได้อย่างสะดวก ซึ่งมีทั้ง Free และ Pro ที่จะได้บริการที่กว้างและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สามารถทดลองใช้ Pro แบบฟรีได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

Copilot นั้นสามารถใช้คำสั่ง Generate ด้วยข้อความภาษาไทย และยังทำงานร่วมกับโปรแกรมต่าง ๆ ในชุด Microsoft 365 หรือโปรแกรมที่เป็นลิขสิทธิ์ของ Microsoft ได้อย่างครอบคลุม 

ทดลองหาข้อมูลประเทศไทย ด้วยภาษาไทย ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเบื้องต้น แต่ความน่าสนใจของ Copilot ที่แตกต่างจาก AI Generative ตัวอื่น คือ มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล (Reference) ซึ่งทำให้เราสามารถนำไปอ้างอิงได้อย่างถูกต้องหรือหากต้องการค้นหาต่อสามารถดำเนินการได้ทันที เป็นประโยชน์มาก ๆ สำหรับการทำงานด้านรีเสิร์ชข้อมูล 

อีกฟังก์ชันที่น่าสนใจ Copilot สามารถแต่งเพลงได้ด้วย ผ่าน Plug-in Suno ที่สามารถสร้างบทเพลงเป็นสื่อการสอนได้ไม่เพียงไม่กี่นาที 

ผู้เขียนลองใช้คำสั่ง และ Plug-in กับ Suno ด้วยคีย์เวิร์ดชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เป็นเพลงลูกทุ่ง สไตล์ ต่าย อรทัย และนี่คือสิ่งที่ Copilot สร้างขึ้นมาให้ ไม่รู้ว่าเหมือนหรือไม่ ผู้อ่านสามารถฟังเพื่อตัดสินผลงานเพลงฉบับนี้ได้ที่ https://copilot.microsoft.com/sl/cJnATqQ94rk

ผู้เขียนขอข้ามการทำงานในส่วนอื่น ๆ ไปเพื่อให้ทุกท่านได้ไปทดลองด้วยตนเอง และขอสรุปภาพรวมการทำงานถือว่าฟังก์ชันการทำงานของ Copilot นี้ถือว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ตามเงื่อนไขของฟรีเวอร์ชัน ถ้าทดลองแบบ Pro อาจจะได้ความว้าวมากกว่านี้ ต่อจากนี้จะขอเข้าสู่กิจกรรมเวิร์กซ็อปที่จะนำเครื่องมือ Copilot ไปใช้ช่วยแก้ปัญหาห้องเรียนบนฐานปัญหา 3 ด้าน

โจทย์ สำหรับการทำ Workshop

โจทย์ที่ 1 : นักเรียนไม่มาโรงเรียน 

โจทย์ในการตั้งต้นไอเดีย :  ออกแบบสื่อการสอนอย่างไรเพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้สึกอยากมาโรงเรียน ไม่หนีออกนอกโรงเรียนหรือทำให้เท่าทันต่อการถูกชักจูงออกนอกโรงเรียน และมีแรงจูงใจในการเรียนต่อเนื่องจนได้วุฒิ ม.3 เป็นอย่างน้อย

IDEATION ที่ได้จากการ Workshop 

จาก IDEATION ด้านบนกลุ่มแก้ปัญหาเด็กไม่มาโรงเรียนได้ทำกระบวนการออกแบบสื่อโดยใช้ AI Microsoft Copilot ช่วยออกแบบสื่อที่น่าสนใจดังนี้

  • รีเสิร์ชข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  • ออกแบบกิจกรรมในค่ายด้วย Copilot 
  • โปสเตอร์กิจกรรมค่าย
  • เพลง Theme ประกอบค่าย  

ประเด็นที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นของกลุ่มหนึ่ง

บริบทของกลุ่มครูที่เลือกเข้าร่วมเป็นปัญหานักเรียนไม่มาโรงเรียนเป็นโจทย์ตั้งต้นปัญหา ในการออกแบบกิจกรรม ปัญหาร่วมของทุกโรงเรียนคือผู้เรียนไม่รู้สึกว่าการมาโรงเรียนได้ประโยชน์และสนุก ทำอย่างไรที่จะดึงให้พวกเขากลับเข้ามาโรงเรียน และรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นที่ตอบโจทย์ความต้องการ ผ่านกิจกรรมในค่ายสั้น ๆ  แต่กิจกรรมในค่ายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากกลับมาเรียนรู้ รู้สึกว่ามีส่วนร่วม แต่อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะดึงเด็กกลับมาได้ คุณครูมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนมองเห็นว่าการมาโรงเรียนจะได้ประโยชน์ และการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองที่ยังต้องการแรงงานจากครอบครัวไปช่วยงาน ต้องทำให้ผู้ปกครองมองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และโรงเรียนต้องเป็นสถานที่สนับสนุนความต้องการของผู้เรียน

โจทย์ที่ 2 : ปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน ออกแบบสื่อการสอนอย่างไรให้นักเรียนระดับมัธยมต้นรู้ว่าคำพูดแบบไหนอาจจะเข้าข่ายการบูลลี่และตระหนักเรื่องการบูลลี่ เพื่อที่จะยับยั้งตัวเองไม่ให้บูลลี่ผู้อื่นรวมทั้งการรับมือการถูกบูลลี่

IDEATION ที่ได้จากการ Workshop 

จาก IDEATION ด้านบนกลุ่มแก้ปัญหาการบูลลี่ได้ทำกระบวนการออกแบบสื่อโดยใช้ AI Microsoft Copilot ช่วยออกแบบสื่อการสอนที่น่าสนใจดังนี้

  • รีเสิร์ชข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  • ถามปัญหาการ Bully ในสถานศึกษาที่เกิดขึ้น 
  • จำแนกประเภทและรูปแบบการบูลลี่เพื่อดูขอบเขตการ บูลลี่มีรูปแบบใดบ้าง
  • ออกแบบสื่อ TikTok สื่อออนไลน์ 
  • สื่อใดที่ช่วยให้เกิดการกระตุ้นการรับรู้ กลุ่มนี้ออกแบบสื่อทำมือ และให้ Copilot ออกแบบโปสเตอร์ผ่านคำสั่ง Prompt และ แต่งเพลงประกอบแคมเปญรณรงค์เรื่องหยุดบูลลี่ 

ประเด็นที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นของกลุ่มสอง

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายของโรงเรียนที่เข้าร่วม ทั้งบริบทโรงเรียนและวิชาที่รับผิดชอบ ซึ่งมีทั้งครูสอนบัญชี ครูสอนศิลปะ ครูสอนนักเรียนบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งปัญหาของแต่ละโรงเรียนก็มีรูปแบบแตกต่างและความรุนแรงของสถานการณ์ แม้แต่โรงเรียนสอนคนหูหนวกก็มีการบูลลี่เพียงแค่รูปแบบการใช้ภาษาต่างกับโรงเรียนทั่วไปเท่านั้น

AI สามารถเข้ามาช่วยในเรื่องการออกแบบสื่อที่บางครั้งครูบางท่านไม่มีทักษะศิลปะ ทักษะออกแบบสื่อ AI สามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มทักษะด้านนี้ เป็นผู้ช่วยในการเรียนการสอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนเขียนคำสั่ง (prompt) ใน AI ทำงานซึ่งกระบวนการนี้สามารถสั่ง prompt ได้ในระดับต้น แต่เมื่อต้องการสื่อที่สวยงามหรือให้ AI มีทักษะออกแบบสวยงาม คนเขียนคำสั่งก็ต้องมีทักษะการเล่าเรื่องและการเขียนเพิ่มไปด้วย ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นทักษะครูด้านการเขียนคำสั่ง AI และสามารถพัฒนาต่อยอดคำสั่งซับซ้อนให้ AI ทำงานได้อีกทางหนึ่ง AI เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างสื่อที่จะช่วยลดภาระในส่วนนี้ ทำให้ครูมีเวลาดูแลและแก้ปัญหาหน้างานด้านพฤติกรรมของนักเรียนมากขึ้น

โจทย์ที่ 3 นักเรียนไม่ได้รับการแนะแนว ออกแบบสื่อการสอนอย่างไรให้นักเรียนระดับมัธยมต้นเข้าถึงเป้าหมายของกิจกรรมแนะแนว เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักตนเอง เห็นทางเลือกและความเป็นได้ในการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพรวมทั้งความเป็นไปได้ที่ก้าวข้อจำกัดหรืออุปสรรคในชีวิต และมีแนวทางสู่ความเป็นไปได้เหล่านั้น

IDEATION ที่ได้จากการ Workshop 

จาก IDEATION ด้านบนกลุ่มทำงานแก้ปัญหาเด็กไม่ได้รับการแนะแน วได้ทำกระบวนการออกแบบสื่อโดยใช้ AI Microsoft Copilot ช่วยออกแบบสื่อการสอนที่น่าสนใจดังนี้

  • รีเสิร์ชข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  • การแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่ได้รับการแนะแนว 
  • กระบวนการและเนื้อหาการจัดค่าย 
  • LOGO ค่าย Art Work สื่อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในค่าย
  • เพลง Theme ประกอบค่าย

ประเด็นที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นของกลุ่มสาม 

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้ AI Copilot ทุกกระบวนการตั้งแต่การยิงคำถามปัญหา ว่าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการไม่ได้รับการแนะแนวอย่างไร กระบวนที่เกิดขึ้นในค่ายทั้งเนื้อหาวิชาการ (การอบรม) สื่อที่ต้องใช้ประกอบ ทั้ง LOGO / Art Work + Poster และเพลง Theme ประกอบค่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าประโยชน์ของ AI นั้นช่วยทั้งเรื่องการลดภาระงาน ลดเวลาการทำงาน และพัฒนาคุณภาพงานให้ดีขึ้น หากเรียนรู้เทคนิคการเขียนคำสั่ง (prompt) ที่ดี และ AI จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแนะนำมุมมองด้านอาชีพที่สามารถเลือกหาได้ตามความสนใจของเรียน และยังสามารถออกแบบแบบประเมินเพื่อวิเคราะห์ทักษะและความสามารถเพื่อพัฒนาการเรียนต่อ ทักษะอาชีพได้อีกทางหนึ่ง 

การเข้ามาของ AI เป็นเหรียญ 2 ด้าน ที่มีทั้งด้านคุณประโยชน์และโทษ ซึ่ง 2 ด้านนี้เป็นสิ่งที่คู่กับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานจะนำเทคโนโลยีไปใช้งานในเชิงสร้างสรรค์หรือทำลาย การปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการรู้เท่าทันทำให้เราสามารถหยิบใช้คุณประโยชน์ต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาเป็นผู้ช่วยเติมเต็มความรู้ พัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม ที่ไม่ว่าการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นอีกกี่ครั้งเชื่อว่าผู้ที่สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงและปรับใช้อย่างรู้เท่าทัน จะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุด 

 8,729 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า