Education Beyond Borders | เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตด้วยการศึกษาไร้พรมแดน

Share on

 1,279 

Education Beyond Borders : เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตด้วยการศึกษาไร้พรมแดน โดย Ms.Mavie Ungco CEO Teach for The Philippines

Teach for The Philippines เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของประเทศ รูปแบบการดำเนินงานเป็นในลักษณะการส่งต่อครูคุณภาพไปยังพื้นที่การศึกษาในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ 

ต่อที่ 1 เราพัฒนาและคัดเลือกครูฝึกสอนที่ผ่านการฝึกอบรมเพื่อส่งไปยังโรงเรียนรัฐบาลที่มีความต้องการสูงทั่วประเทศ 

ต่อที่ 2 เรานำครูฝึกสอนกลุ่มเดียวกันไปให้บริการภาครัฐ เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากฐานรากเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย และการพัฒนาแผนงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายระดับชาติสำหรับการศึกษาในประเทศ

ก่อนที่จะเริ่มเจาะลึกประเด็นของการนำเสนอหลัก อาจจะขอเกริ่นให้เห็นถึงโครงสร้างบริบทการศึกษาสำหรับประเทศฟิลิปปินส์และระบบการศึกษา ที่เรียกชื่อว่า ‘กรมการศึกษา’ อาจจะประมาณได้ว่าเทียบเท่ากับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์เป็นหน่วยราชการที่ใหญ่ที่สุดในรัฐบาล โดยระบบนี้รองรับเด็กประมาณ 27 ล้านคน มีครูโรงเรียนรัฐบาลประมาณ 1 ล้านคน และบุคลากรที่ไม่ใช่ครูอีกจำนวนหนึ่ง ระบบนี้ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดในรัฐบาล แต่เนื่องจากระบบมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ยังคงขาดแคลนทรัพยากร และยังมีความท้าทายในระบบการศึกษามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพการศึกษาและผลลัพธ์ของการศึกษาสำหรับนักเรียนจำนวนมาก 

ในปี 2018 ประเทศฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมโครงการประเมินนักเรียนต่างชาติหรือ PISA ผลการสอบเด็กฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 79 จาก 79 ประเทศทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2022 ก็เข้าร่วมอีกครั้ง ปรากฏว่าประเทศฟิลิปปินส์อันดับผลคะแนนอยู่ในอันดับที่ 79 ในด้านการอ่าน อันดับที่ 76 ในด้านคณิตศาสตร์จาก 81 ประเทศที่เข้าร่วม ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่าคุณภาพของผลการสอบ PISA ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก

นอกจากนี้ เรายังพบว่า ‘นักเรียนเกือบครึ่งเคยถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน’ เป็นปัญหาที่ยังคงมีอยู่ในสถานศึกษา และยังคงมีปัญหาอื่น ๆ ทั้งในด้านผลการเรียน การเรียนรู้และการพัฒนาด้านอารมณ์ทางสังคม ซึ่งจัดเป็นปัญหาอยู่ในระดับมหภาคที่สามารถพบเห็นในโรงเรียนของรัฐ และในโครงการชุมชนในโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การบริหารภายในประเทศ 

เมื่อพูดถึงการอ่านและการคำนวณ นักเรียนส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาด้านการอ่านและการคำนวณที่สะท้อนจากผลคะแนน PISA ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ด้านการศึกษา รวมถึงปัญหาขาดกรอบความคิดแบบเติบโต ขาดความเชื่อมั่นในตนเองประเมินความสามารถตนเองต่ำทั้งที่พวกเขานั้นมีความสามารถที่จะเรียนรู้หรือปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ได้ ทำให้ขาดโอกาสดี ๆ ที่สมควรจะได้รับ ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินงานของ Teach for The Philippines ที่จะต้องจัดการกับความเจ็บปวดทางจิตใจ และการพยายามพัฒนาการฟื้นฟูด้านจิตใจในหมู่นักเรียน เป็นเป้าหมายและความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญในงานระดับประเทศ

เนื้องานทั้งหมดที่ Teach for the Philippines ได้ดำเนินการ แผนงานที่ได้เปิดตัวนั้นล้วนยึดโยงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรโดยที่กรอบการดำเนินงานสอดคล้องกับพันธกิจที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานที่ครอบคลุมในสามเสาหลัก 3 ด้าน  1.) ความเป็นเลิศ 2.) ความสัมพันธ์กัน และ 3.) การรวมไว้ซึ่งความหลากหลาย ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีการพัฒนาแผนงาน และเมื่อใดก็ตามที่ทำงานร่วมกับชุมชน หรือดำเนินแผนงาน การจัดตั้งโครงการ และผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก จะต้องถามตัวเองด้วย 3 คำถามสำคัญ ดังนี้

หนึ่ง คือเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้เรียนของเราได้รับการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูง เพราะเป็นมาตรฐานที่ควรจะได้รับ

สอง คือเราจะยกระดับขวัญกำลังใจและรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ของเราได้อย่างไร

สาม คือเราจะสนับสนุนการพัฒนาของนักเรียนอย่างไร แม้จะมีช่องโหว่และข้อจำกัดภายนอกมากมาย

สำหรับผู้ที่ทำงานในด้านการศึกษาคงไม่น่าแปลกใจที่มีปัญหาหลัก ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาและผลลัพธ์ทางการศึกษา คือความหิวโหย ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะแคระแกร็น การดำรงชีพ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ในฐานะองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านการศึกษาต้องเผชิญและไม่สามารถละเลยสิ่งเหล่านี้ได้ จึงต้องพยายามปรับปรุงผลลัพธ์ทางวิชาการและมาตรฐานการศึกษาเพื่อเด็กจำนวนมากที่องค์กรได้ให้ความช่วยเหลือ

เมื่อกล่าวถึงการฟื้นฟูการเรียนรู้ใน Teach for the Philippines ขอกล่าวถึงพื้นฐานแผนงานที่ต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมและตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนของแผนงานของเราได้รับการปรับให้เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้จริง ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งในการดำเนินงานของแผนงานของ คือ ความคล่องตัวหรือความยืดหยุ่น ที่ต้องออกแบบกระบวนการในการออกแบบแผนงาน ในขณะที่หลายภาคส่วนของแผนงานได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถปรับเปลี่ยนแผนเพื่อให้การทำงานคล่องตัวได้ โดยจะขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชนที่เราให้ความช่วยเหลือ สามารถมั่นใจได้ว่าสิ่งที่เรามอบให้กับนักเรียนมีความสัมพันธ์กันและเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับบริบทหรือชุมชนของพวกเขา

ขอยกตัวอย่างเพื่อนำเสนอเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการใน 3 ประเด็น

ประเด็นแรก การเยี่ยมบ้านผู้เรียน เป็นส่วนสำคัญของแผนงาน การเรียนการสอนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน โดยเฉพาะหลังภาวะการระบาดโควิด-19  การทำงานขององค์กรได้ขยายขอบเขตออกไปมากกว่าในโรงเรียนหรือห้องเรียน คือการเข้าไปในชุมชนและเยี่ยมเยียนนักเรียนที่เปราะบางที่สุดเพื่อดูแลความเป็นอยู่ของพวกเขา นักเรียนจำนวนมากในฟิลิปปินส์ต้องเดินทางไปกลับโรงเรียนโดยเฉลี่ย 2-3 กิโลเมตร ซึ่งอาจดูเหมือนระยะทางที่ไม่ไกลนัก แต่สำหรับเด็กเล็กแล้ว สภาพถนนหนทางที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความหิวโหย เด็ก ๆ มักต้องมาโรงเรียนในขณะที่หิวโหย หรือไม่มีโภชนาการที่เหมาะสมและเพียงพอ สิ่งนี้อาจกลายเป็นอุปสรรคที่แท้จริงต่อการเข้าเรียนในโรงเรียน ดังนั้น การเยี่ยมบ้านจึงแผนงานที่สำคัญเป็นวิธีที่เราใช้ในการทำความเข้าใจว่าสภาพแวดล้อมที่บ้านเป็นอย่างไร ความท้าทายเฉพาะตัวของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลแต่ละคนเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรที่จะช่วยเสริมศักยภาพให้ผู้ปกครองได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนทักษะด้านการเรียนรู้ที่บ้านให้กับลูกหลาน 

ประเด็นที่สอง คือการจัดหาอาหารว่างนำมาบรรจุในงบประมาณและให้แน่ใจว่างบประมาณส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการดำเนินการแผนงาน ทำให้สามารถจัดการกับปัญหาใหญ่ในการจัดแผนงานได้ในทางปฏิบัติ และเน้นการส่งเสริมให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมกับงานขององค์กร 

ประเด็นที่สาม ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงมรสุมจะมีพายุไต้ฝุ่นประมาณ 20 ลูกโดยเฉลี่ย มีแผ่นดินไหว และภัยในด้าน อื่น ๆ อีกมาก ถือเป็นความเสี่ยงด้านภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแผนการดำเนินงานจะต้องคล่องตัวเพียงพอหากเกิดวิกฤตจากภัยต่าง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการ หรือหากต้องหยุดกะทันหันต้องสามารถกลับมาดำเนินการใหม่อีกครั้งโดยเร็วที่สุด 

ดังนั้น เพื่อนร่วมงานของเราจึงได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นในด้านการจัดการแผนงาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถปรับแผนงานอย่างชาญฉลาด และอิงตามบริบทในสถานการณ์วิกฤต ตัวอย่างทั้ง 3 ตัวอย่างนี้หวังว่าจะช่วยให้เห็นภาพแผนงานขององค์กรว่าสามารถออกแบบให้ปรับเปลี่ยนได้อย่างไร และยังช่วยให้เราสามารถจดจ่อกับเป้าหมายได้ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่สิ่งที่เรานำเสนอในระดับพื้นฐานที่ควรจะเป็น แต่ยังรวมถึงในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียนในจุดที่พวกเขาอาศัยด้วย ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าการดำเนินการของเราสามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีความหมายต่อสังคมได้ 

ในอดีตนั้นต้นแบบของ Teach for the Philippines คือผู้เข้าร่วมโครงการหนึ่งคนต่อกลุ่มโรงเรียน โดยปกติแล้ว เราจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 2-3 คนต่อกลุ่มโรงเรียนที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำและนำโครงการการเรียนรู้เชิงปฏิบัติไปใช้จริง โดยมีแผนงานสำหรับการอ่าน แผนงานสำหรับวิชาคำนวณ และแผนงานทักษะชีวิต หรือแผนงานการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ที่แยกจากโครงการการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ดังนั้น นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและแผนงานทักษะชีวิตของเราจึงมักจะไม่เหมือนกัน บางแผนงานอาจทับซ้อนกันในทั้งสองแผนงาน แต่ส่วนใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราถือว่าทั้งสองแผนงานเป็นแผนงานแยกกัน และผลลัพธ์ที่ได้ค่อนข้างดี เรามีทีมประเมินข้อมูลและผลกระทบภายในองค์กร ซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณาผลลัพธ์ตามเป้าหมายของเรา ช่วยให้ทีมจัดทำแผนงานสามารถจัดทำตามกรอบเชิงตรรกะเพื่อที่เราจะได้วัดผลที่จำเป็นได้ในตอนท้ายของแต่ละรอบแผนงาน

ที่มา : FutureEd Fest 2024 ติดบูทส์ไอเดีย เติมเครื่องมือ ขยายขีดจํากัดของการเรียนรู้ 

สิ่งที่เราทำแตกต่างไปในปีนี้คือการเริ่มต้นด้วยโครงการนำร่อง และตอนนี้เรากำลังขยายโครงการนี้ไปยังโรงเรียนทั้งหมดในปีการศึกษา เราเข้าถึงโรงเรียนรัฐบาลประมาณ 35 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีเด็กในระบบทั้งหมดประมาณ 10,000 คน ในโครงการที่เราเรียกว่า “Tara Kaya” เป็นคำในภาษาฟิลิปปินส์ แปลว่า “มาเริ่มกันเลย” หรือ “มาเริ่มกันเลย เราทำได้”  โครงการนี้ช่วยรวม ‘แผนงานทักษะพื้นฐานเชิงปฏิบัติและทักษะชีวิตของเราเข้าด้วยกัน’ ทำไมต้องดำเนินงานด้วยแผนนี้ ? นั่นเป็นเพราะข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการดำเนินการครั้งก่อน ๆ สะท้อนให้เราเห็นว่าผลลัพธ์จากแนวทางแบบรวมศูนย์ในการออกแบบและกิจกรรมของโครงการช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมและสร้างเส้นทางสำหรับผู้เรียนที่เปราะบางที่สุดได้ 

แนวทางการทำงานสำหรับแผนงาน Tara Kaya ที่ได้พัฒนาใน 4 ด้าน ได้แก่  1.) การศึกษา  2.) ประสบการณ์  3.) การเปิดรับ และ 4.) สภาพแวดล้อม แผนงานนี้สร้างขึ้นบนหลักการเดียวกันกับเรื่องที่ได้กล่าวไปตอนต้นคือ  1.) ความเป็นเลิศ 2.) ความสัมพันธ์กัน และ 3.) การรวมไว้ซึ่งความหลากหลาย ดังนั้นจึงมุ่งเน้นที่นักเรียนและตรงตามความต้องการ มุ่งเน้นบริบทและประสบการณ์ที่สูง เราเพิ่มการเข้าถึงของนักเรียน และเราตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้รวมอยู่ในการออกแบบแผนงานของเรา เราพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่คำนึงถึงการดูแลบาดแผลทางใจและสุขภาพอารมณ์ทางสังคมที่ดี ไม่ใช่แค่ในห้องเรียนเท่านั้นแต่หมายถึงที่บ้านของผู้เรียนด้วย แล้วได้พบอะไรหลังจากการทดลองนำร่อง? สิ่งที่ได้ค้นพบคือแนวทางแบบรวมกันเมื่อเทียบกับแนวทางแบบแยกส่วนทำให้เราเห็นว่าการทำงานด้วยวิสัยทัศน์แบบรวมกันได้ผล เกิดประสิทธิผลโดยรวมต่อผลลัพธ์ของนักเรียน เห็น อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยในแบบเดิม ในด้านทักษะพื้นฐานเชิงปฏิบัติเมื่อเทียบกับแบบรวมกัน จะเห็นว่าแบบรวมกันสูงกว่า ใช้เวลาที่สั้นลงกว่าเดิมเพราะแผนงานได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งในด้านการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม นั่นเพราะเกิดจากการเรียนรู้มากขึ้น สามารถเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น ทำให้สามารถอ่านได้ดีขึ้น และตามทันเพื่อนร่วมชั้นได้ เกิดความรู้สึกมั่นใจมากขึ้นและไม่รู้สึกเกลียดที่จะไปโรงเรียน อยากจะลองผิดลองถูกตามวัยเด็ก ดังนั้น สำหรับเรา ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีคะแนนการอ่านและการคำนวณที่ดีขึ้น ยังเพิ่มคะแนนการสังเกตการณ์เรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมด้วย จะเห็นการฝึกฝนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการปรับตัวที่ตามที่ส่งเสริมในแผนงานมากขึ้น เห็นความสามารถของตนเองว่าทำอะไรได้มากขึ้น

Ms.Mavie Ungco ได้กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญคือการสร้างวัฒนธรรมในการออกแบบและการจัดแนวทางดำเนินการแผนงานที่ดีจึงจะสามารถเกิดผลลัพธ์แบบนี้ได้ ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถลองผิดลองถูก ลองเสี่ยงได้แต่ต้องอยู่บนฐานของวิจารณญาณที่เหมาะสม เน้นย้ำในกระบวนการที่ถูกต้องและตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผนงานนั้นสามารถปรับแผนได้ตามสถานการณ์ และมีสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือ และสุดท้ายแล้วการปลดปล่อยศักยภาพของนักเรียนจะเกิดขึ้นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

แม้จะเป็นการเดินทางของการทำงานที่ยาวนานแต่ด้วยความเชื่อที่ว่าการมุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสที่ดีที่สุดในการทำให้ความฝันของพวกเขาเป็นจริง 

 1,280 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า