ถอดกระบวนการ Design Thinking จากเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM)

Share on

 829 

สำหรับงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) เป็นการเปิดระดมไอเดียของโรงเรียนภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับการทำงานโครงการ โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้นำกระบวนการด้านการออกแบบที่เรียกว่า  Design Thinking มาใช้เป็นเครื่องมือระดมไอเดียเพื่อออกแบบแผนงานการขับเคลื่อนการทำงานของขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) ให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อตอบโจทย์การทำงานในพื้นที่การศึกษาอย่างยั่งยืน

เกริ่นนำ : ทำความรู้จักกระบวนการ Design Thinking 

Design Thinking ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ Creative Engineering เมื่อประมาณปี 1959 เป็นศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาพร้อม ๆ กับการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) โดยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลชื่อว่า John Edward Arnold 

Design Thinking นั้นออกแบบมาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเชิงอุตสาหกรรมในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ครั้ง ที่เริ่มนำระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า เหล็ก และพลาสติก เข้ามาในเป็นส่วนผลิตที่ทำให้สามารถผลิตสินค้าเชิงอุตสาหกรรมจำนวนมากได้

Design Thinking การระดมสมอง + สร้างไอเดียใหม่

สำหรับการเก็บข้อมูลสำหรับกระบวนการ Design Thinking นั้น คือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่ใช่เชิงปริมาณ เพื่อให้เข้าใจเหตุผลของพฤติกรรมและความต้องการได้อย่างแท้จริง เป็นการลงสำรวจโดยใช้วิธีการเข้าไปทำความเข้าใจด้วยการตั้งคำถาม พูดคุย สอบถาม เฝ้าสังเกต พฤติกรรม หรือประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์  

(กระบวนการ Design Thinking)

ที่มา : https://www.maqe.com/insight/the-design-thinking-process-how-does-it-work/

โดยกระบวนการระดมไอเดียผ่านกระบวนการ  Design Thinking ในงานมหกรรมยกระดับ TSQM ครั้งนี้ มีขั้นตอนหลักในช่วงต่าง ๆ ในการเสนอไอเดีย ความเป็นไปได้ และความหลากหลายดังนี้: 

1. Empathize เข้าใจปัญหาและผู้ใช้งาน : กิจกรรมฐานใจ Empathize ความสุข ประสบการณ์/คุณค่าของงานซึ่งกันและกัน การเริ่มต้นสำคัญกระบวนการ Design Thinking ด้วยการเข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งาน โดยการศึกษาและการสำรวจความต้องการของกลุ่มคนทำงานในพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรู้ถึงความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคที่พบ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนได้อย่างเต็มที่และไม่ถูกจำกัดด้วยคำว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ และ ‘ไม่น่าจะทำได้’ 

2. Define นิยามปัญหา : กิจกรรมขั้น 2 เพื่อให้ได้ภาพอนาคตที่อยากเห็นนั้น  ให้มอง ณ ปัจจุบันติดขัดเรื่องอะไร เกิดการนิยามปัญหาเป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการนี้ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจปัญหาที่ต้องแก้และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้แนวทางการจัดการศึกษาโดยมีเป้าหมายที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ 

3. Ideate ค้นหาแนวทางแก้ไข : แต่ละกลุ่มพูดคุยระดมสมอง สิ่งสำคัญที่สุดเวลาที่ทำขั้นตอน Ideate ส่วนระดมสมอง คือ ความหลากหลายของความคิด ตัวแทนจาก 16 จังหวัดช่วยกันเทกองไอเดียในการขับเคลื่อนจุดคานงัด (แก้ Pain Points) เพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และโรงเรียนในพื้นที่

หลังจากที่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว จะนำเสนอแนวทางแก้ไขโดยสร้างความคิดสร้างสรรค์จากทุกสมาชิกในเครือข่าย ในขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Brainstorming เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขที่หลากหลายและนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ กระบวนการส่วนนี้จะเห็นความต่างของแต่ละจังหวัด ความต้องการการที่อยากแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจจะเชื่อมไปสู่ระดับภูมิภาคที่เป็นจุดร่วม โดยในส่วนนี้จะเกิดกระบวนการ Mapping เชื่อมโยงจุดร่วมที่ทุกคนเห็นตรงกันที่จะพร้อมขับเคลื่อน M-Movement ไปพร้อมกัน 

ประมวล  Ideation ของเขตพื้นที่การศึกษาที่เข้าร่วม 16 จังหวัด
จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดนครพนม  
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดภูเก็ต



จังหวัดราชบุรี
จังหวัดลําปาง

จังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดสงขลา
จังหวัดสระแก้ว
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุรินทร์

Visual Note โดย สุติมา งอกเงิน

ดาวน์โหลดไฟล์ Visual Note ทั้ง 16 จังหวัดได้ที่

4. Prototype สร้างแบบจำลอง : แต่ละกลุ่มคัดเลือกไอเดียมาสร้างต้นแบบโครงการพัฒนาที่ตอบโจทย์และเป็นไปได้มากที่สุด โดยการวิเคราะห์มิติต้นทุน ทรัพยากร เครื่องมือ บุคลากรในพื้นที่ที่มองเห็นว่าต้องการจะ Move อะไรก่อนในปีที่ 1- 2- 3 หลังจากเลือกแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการลำดับถัดไปที่เรียกว่าการทำ Prototype ซึ่งเป็นรูปแบบตัวอย่างของการออกแบบนโยบายการทำงาน เครื่องมือ ความร่วมมือเครือข่ายเพื่อทดสอบและพัฒนาไอเดียต่อไป 

‘Test’ กระบวนการแห่งความท้าทายของ Design Thinking

5. Test ทดสอบและปรับปรุง : ขั้นตอนนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้นในงานครั้งนี้ แต่เป็นการบ้านให้แต่ละจังหวัดนำไอเดียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ Prototype ในเวทีนี้ไปลองเสนอผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) นำไปใช้ในพื้นที่ ผ่านกระบวนการ Professional Learning Community (PLC) และ Developmental Evaluation (DE) การสร้างความเข้มแข็งของโค้ช และเก็บ feedback มาปรับและพัฒนาโครงการให้ดีขึ้นไปอีกขั้น

สุดท้ายการทำงานของ TSQP สู่ TSQM ในครั้งนี้หวังสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์การพัฒนาเด็กในพื้นที่และภาพของการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้นอยากเห็นในอนาคตร่วมกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นหาและวิเคราะห์จุดสำคัญที่จะยกระดับการพัฒนาในพื้นที่ ด้วยความหวังว่าการระดมไอเดียและร่างต้นแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกันที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้จริง

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Infographic รวมเป้าหมายทั้ง 16 จังหวัดเครือข่าย 

จากเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM)

https://web.facebook.com/iamkru.eef/posts/596988102621674

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า