นวัตกรรมบอร์ดเกม เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

Share on

 2,012 

ทำไมการเรียนรู้ด้วยบอร์ดเกมจึงสำคัญ

บอร์ดเกมสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ด้วยการสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมาฝึกกระบวนการทางการคิด ที่ได้ทั้งความสนุก ความเพลิดเพลิน ลูกฝังค่านิยม พัฒนาปัญญาของผู้เรียน และฝึกสมรรถนะสำคัญทางการเรียนรู้ได้หลายสมรรถนะใน 1 เกม ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจะวางแผนออกมาอย่างไร

การจัดประเภทของบอร์ดเกมมีอยู่หลากหลายหลักคิด แต่ทว่าหลักคิดที่สรุปภาพรวมได้อย่างครอบคลุม คือ การแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ของเกมซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. เกมครอบครัว (Family Game) เกมที่มีกฎกติกาไม่ซับซ้อน อธิบายให้คนที่ไม่เคยเล่นเข้าใจได้ภายใน 5-10 นาที เป็นเกมได้รับความนิยมมากที่สุด

2. เกมวางแผน (Strategy Game) เกมที่ต้องใช้ทักษะในการวางแผน เหมาะสําหรับผู้ที่อยากเล่นเกมที่ท้าทายขึ้น และ ‘เกมเมอร์’ ที่ชอบเล่นเกมในแพลตฟอร์มอื่นอย่างเกมคอมพิวเตอร์

3. ปาร์ตี้เกม (Party Game) “ปาร์ตี้เกม” ถูกออกแบบมาสำหรับเล่นเป็นหมู่คณะ ปกติหมายถึง 8-20 คนหรือมากกว่า ปาร์ตี้เกมที่สนุกคือเกมที่อธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้ภายใน 5-10 นาที มีอุปกรณ์ไม่มาก เกมประเภทนี้อาจ

มีดวงเกี่ยวข้องด้วยเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้มนุษยสัมพันธ์และปฏิภาณไหวพริบ

การออกแบบบอร์ดเกม

โครงสร้างบอร์ดเกม (Game Structure) 

โครงสร้างของบอร์ดเกมแบ่งตามรูปแบบของบอร์ดเกม ยึดแนวคิดของ Geoffrey Engel stein และ Isaac

Shalev โดยแยกออกเป็น 10 โครงสร้างที่เหมาะนำไปใช้การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ได้ดังนี้

1. โครงสร้างแบบการแข่งขันที่มีผู้ชนะเพียงคนเดียว (Competitive Game) เกมสำหรับผู้เล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีผู้ชนะเพียงคนเดียว เป็นเกมที่มีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และมีผู้ชนะเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นระบบที่เราเจอกันซะส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเกมเช่นหมากรุก หมากฮอร์ส 

2. โครงสร้างเกมแบบช่วยเหลือกัน (Cooperative Game) เกมที่ผู้เล่นมีการประสานกันตามขั้นตอน เพื่อให้ได้ตามเงื่อนไข ซึ่งจะได้รับผลจากเกม คือ การแพ้หรือชนะร่วมกัน ผู้เล่นร่วมมือกันเพื่อคว้าชัยชนะร่วมกัน ก็คือการเล่นแข่งขันและเอาชนะระบบของเกม

3. โครงสร้างเกมแบบเล่นเป็นทีม (Team-Based Game) เป็นเกมที่มีผู้เล่นเป็นทีม ซึ่งทีมของผู้เล่นนั้น จะมีการแข่งขันกับผู้อื่นร่วมกัน เพื่อให้ได้รับชัยชนะ รูปแบบเกมที่เล่นกันเป็นทีมเช่น ผู้เล่นฝั่งละ 2 – 3 คน หรือเกมที่มีผู้เล่น 1 คน ต่อผู้เล่นอีกฝั่งหลายๆ คน

4. โครงสร้างเกมแบบเล่นเดี่ยว (Solo Game) คือเกมที่ออกมาเพื่อมีผู้เล่นเพียงคนเดียว หรือออกแบบมาเพื่อรองรับให้สามารถเล่นคนเดียวได้ ก็จัดอยู่ในโครงสร้างของหมวดหมู่นี้เช่นกัน

5. โครงสร้างเกมแบบกึ่งแข่งขันกัน (Semi-Cooperative  Game) เกมที่จบโดยที่ไม่มีผู้ชนะ หรือชนะได้ทั้งแบบกลุ่มและคนเดียว ซึ่งไม่เพียงแค่ผู้เล่นจะเอาชนะระบบของเกมได้ แต่ยังต้องเอาชนะเงื่อนไขหรือ objective ของเกมที่มีให้ได้ด้วย

6. โครงสร้างเกมแบบหาผู้แพ้ (Single Loser  Game) เกมที่มีผู้เล่นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยเมื่อจบเกมจะมีผู้เล่นที่แพ้เพียงคนเดียว ซึ่งผู้เล่นไม่จำเป็นจะต้องเล่นได้ดีกว่าทุกคน แค่ไม่แย่ที่สุดก็พอ 

7. โครงสร้างเกมแบบหากบฏ (Traitor Game) ที่แปลได้ตรงตัวเลยก็คือ เกมคนทรยศ ซึ่งจะเป็นเกมที่เล่นกันเป็นทีม หรือเล่นแบบช่วยเหลือกัน แต่เพิ่มกลไกของการทรยศขึ้นมา โดยใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ผู้เล่นคนอื่นล้มเหลว โดยผู้เล่นที่เป็นคนทรยศจะได้รับบทรับในการเล่นโดยที่ผู้เล่นคนอื่นไม่รู้

8. โครงสร้างเกมแบบประยุกต์ใช้แผนที่ (Scenario/Mission/Campaign Game) ระบบของเกมที่สามารถใช้ได้กับหลายๆ อย่างแตกต่างกันไป เช่น Map ทรัพยากร ตำแหน่งเริ่มต้น เงื่อนไข หรือแม้กระทั่งวิธีการชนะที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะพบได้กับเกมพวก War Game

9. โครงสร้างเกมแบบปรับค่าคะแนน (Score and Reset Game) คือเกมที่ผู้เล่นจะเล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ และเก็บแต้มหรือคะแนนให้ได้ตามเป้า ซึ่งส่วนใหญ่หากใครได้คะแนนเยอะสุดเป็นผู้ชนะ 

10. โครงสร้างแบบมรดก (Legacy Game) เป็นเกมที่มีการส่งต่อหลายต่อหลายครั้งมาอย่างยาวนาน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เกมที่มีหลายรอบ หลายด่าน และมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงต่อตัวเกมแบบแก้ไขไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นเกมที่เล่นได้เพียงแค่ครั้งเดียว

  ดำรงฤทธิ์ คุณสิน (ครูบอน)

นุตประวีณ์ ทัศนสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ สพป.พิจิตร 2

การเลือกประเด็นเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

การเลือกประเด็นหรือหัวข้อของการสร้างบอร์ดเกมการศึกษา โดยในทางการศึกษาเราตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ตามพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ซึ่งเกมอาจมีทั้ง 3 จุดประสงค์การเรียนรู้ครบทุกด้านหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับคุณครูผู้สอนที่ต้องการเลือกประเด็นเกมให้ครบ Knowledge Practice Attitude (KPA) ตามหลักสูตร

การออกแบบการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีเส้นโค้งการเรียนรู้ หรือที่เรียกกันว่า Learning Curve นั้นเป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ของครูเพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบรูปแบบเนื้อหาเกมให้ตอบจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งหมุดหมายไว้ได้  โดยเส้นโค้งการเรียนรู้ (Learning Curve) มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังนี้ 

1. Intro เรียกความพร้อม Check in เตรียมความพร้อม ด้วยการรับฟัง และกิจกรรม Brain Gym

2. Stimulate กระตุ้นให้อยากรู้ เลือกการ์ดที่เชื่อมโยงกับผู้เรียน เนื้อหา แล้วตั้งคำถามท้าทายความคิด

3. Learn เรียนรู้จากประสบการณ์ แบ่งกลุ่มเล่นเกม อธิบายการเล่น กติกา การคิดคะแนน คุณครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมระหว่างการเล่น

4. Conclusion ทวน/ถอดบทเรียนร่วมกัน  ถอดบทเรียนจากบอร์ดเกมที่ได้เรียนรู้ ด้วยตนเอง ว่าได้เรียนรู้อะไร ได้ทักษะอะไร สิ่งที่สงสัย อยากรู้ แล้วแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

5. Apply ชวนให้ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะนำเนื้อหาจากบอร์ดเกม ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง

ผู้เข้าร่วมอบรมนำเสนอแนวทางการออกแบบเนื้อหาและพัฒนาบอร์ดเกม

การเรียนรู้จากบอร์ดเกมมีส่วนช่วยให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้โดยสรุปได้ 3 ด้านสำคัญคือ

ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) บอร์ดเกมสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การประเมินผล การสร้างสรรค์ 

ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การรับรู้ การตระเตรียม การตอบสนอง ตามการชี้แนะ การสร้างกลไก  การตอบสนองที่ ซับซ้อนขึ้น การดัดแปลงให้เหมาะสม การริเริ่มใหม่ ช่วยให้เกิดความคิดเป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้มีความสนุกสนานขึ้น หรือพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา 

ด้านจิตตพิสัย (Afflictive Domain)  การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างค่านิยม การจัดการ การสร้างลักษณะนิสัย ของบุคคลฝึกคุณลักษณะของการอยู่ร่วมกันในสังคมได้

เนื้อหาทั้งหมดรวบรวมจากกิจกรรมการอบรม

หลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 

เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกมสำหรับครูในการพัฒนาผู้เรียน วันที่ 10 – 11 มิถุนายน 2566  ณ โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า