Billesley Primary School (โรงเรียนประถมบิลเลสลี) เน้นวัฒนธรรมการทำงานเน้นคุณภาพแบบองค์รวม

Share on

 301 

Billesley Primary School โรงเรียนสุดท้ายของการเดินทางเพื่อดูงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียน Billesley มีนักเรียนในสังกัดประมาณ 680 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในเวสต์มิดแลนด์ เมืองเบอร์มิงแฮม เมืองใจกลางเกาะอังกฤษที่ไม่มีทางออกติดทะเล และเป็นอีกหนึ่งเมืองใหญ่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของสหราชอาณาจักร 

บริบทโรงเรียน Billesley มีความน่าสนใจที่สอดคล้องกับการทำงานของ กสศ. เป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมกับ Academy Trust อยู่ภายใต้มูลนิธิ THE ELLIOT FOUNDATION ACADEMIES TRUST องค์กรการกุศลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับประถมวัย โดยมีโรงเรียนในเครือข่ายประมาณ 32 โรงเรียน

วิสัยทัศน์ของครูใหญ่คาร์ล โรเจอร์สัน เน้นวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นเรื่องคุณภาพการศึกษา เป็นโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็นเลิศในทุกด้านของทุกคนในโรงเรียน พร้อมกับเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ ให้ประสบความสำเร็จ สร้างความตื่นเต้นให้กับการเรียนรู้ ตามเป้าหมายของโรงเรียนที่ปักหมุดหมายไว้

การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ Billesley Primary School 

ถึงแม้เป็นโรงเรียนที่ทำงานในเครือข่ายมูลนิธิ แต่โรงเรียนสามารถคัดกรองมูลนิธิที่จะเข้ามาสนับสนุนว่ามีวิสัยทัศน์การทำงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานของโรงเรียนหรือไม่ ทำให้โรงเรียนมีอิสระสามารถออกแบบการเรียนการสอนตรงกับความต้องการของผู้เรียนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ประเมินของกองทรัสต์

‘ผู้บริหารมีความเป็นผู้ทำทางวิชาการ

ความเหมือนที่แตกต่าง’

ความเหมือนที่แตกต่างของบทบาทผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 สถาบันก่อนหน้า คือ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ จึงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาศักยภาพครู นักเรียน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนอย่างเด่นชัด เน้นใช้งานวิจัยเพื่อมาพัฒนาคุณภาพครู ห้องเรียน นักเรียน เชื่อมสู่การพัฒนาการเรียนการสอน เมื่อกรุ๊ปรวมประเด็นที่ค้นพบระหว่างดูงานสามารถแยกออกเป็นหัวข้อได้น่าสนใจดังนี้ 

การพัฒนาครู

  • เน้นเรื่องการใช้ METACOGNITION ทักษะทางปัญญาระดับสูงสุดของการเรียนรู้ สร้างครูต้นแบบที่สร้างกระบวนการคิดและขั้นตอนการเรียนรู้
  • เป็นโรงเรียนเครือข่าย EEF UK ใช้ Research เพื่อพัฒนางานสอน เน้นการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และดูระดับการพัฒนาของนักเรียน 
  • โค้ชครูและประเมินครูใหม่ให้เป็นมืออาชีพ จะเห็นความเป็นมืออาชีพของครูทุกคนในโรงเรียน ไม่เว้นแม้แต่ครูฝึกสอนที่ทีมดูงานสังเกตได้ว่ามีทักษะการสอนแบบมืออาชีพ
  • สร้างวัฒนธรรมการ Reflection ให้ครูปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ‘มีการสะท้อนคิดในแต่ละวัน’ เพื่อให้เกิดการทบทวนเป้าหมาย ประเมินว่าต้องปรับปรุงตรงไหน และจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร
  • Lesson Plan วางแผนการสอน โดยยึดเป็นแม่แบบที่ปฏิบัติร่วมกัน

การพัฒนาห้องเรียน

หลักการทำงานของคุณคาร์ล โรเจอร์สัน ครูใหญ่ที่ให้ความสำคัญโรงเรียนว่าเป็นหัวใจของชุมชนท้องถิ่น โรงเรียนต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรท้องถิ่น นักสร้างสรรค์ และผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นให้มั่นใจได้ว่าบุตรหลานได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด และที่สำคัญคือให้พวกเขามีความสุขกับการเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต

  • บูรณาการและใช้ทรัพยากรสื่อการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดกลุ่มตามความสามารถของนักเรียน จัดห้องเรียนพิเศษเตรียมความพร้อมของ ‘นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ’ มีเครื่องมือช่วยสอน หนังสือ เพื่อให้มีศักยภาพเรียนร่วมชั้นได้ ไม่รู้สึกแปลกแยก
  • ลงทุนกับการจัดการนักเรียน มีตารางเรียนเฉพาะบุคคล ถ้านักเรียนมีทักษะพร้อมก็นำไปเรียนรวมชั้นอื่นได้เลย
  • มีเกณฑ์การวัดและประเมินผลนักเรียนในทุกด้าน และให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยกับนักเรียน

เครื่องมือที่ Billesley Primary School ใช้ในการพัฒนาห้องเรียน

Reflective Practice การสะท้อนคิด เครื่องมือที่ผู้อ่านบทความนี้หลายท่าน ๆ ต้องรู้จักและใช้ในห้องเรียนมาบ้างแน่นอน การสะท้อนคิด เป็นเครื่องมือที่ช่วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งการปฏิบัติการสะท้อนคิดจะต้องประกอบด้วยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอบนพื้นฐานการนำเอาทฤษฎีและการปฏิบัติมาใช้ในการสะท้อนคิด และที่สำคัญช่วยเรื่องทักษะทางปัญญาของผู้เรียนด้วย

ที่มา: https://bhamacademicpractice.wordpress.com/2017/02/22/reflecting-on-teacher-reflection-a-discussion-of-the-uses-and-limitations-of-kolbs-experiential-learning-cycle/

METACOGNITION เครื่องมือที่ให้ครูสร้างต้นแบบจำลองการสอนที่ชัดเจน 7 ขั้น ซึ่งแต่ละลำดับขั้นจะแบ่งเนื้อหาที่ได้สอนไปก่อนหน้านี้ และสิ่งที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อเข้าถึงบทเรียน ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในสิ่งที่เด็กแต่ละคนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่สอนมาก-น้อยไม่เท่ากัน เครื่องมือนี้ทำให้คุณครูวิเคราะห์ว่าเนื้อหาอะไร ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าที่สอนไปแล้วนักเรียนทุกคนได้รับความรู้อย่างเข้าใจก่อนที่จะเดินหน้าไปต่อบทเรียนถัดไป

ดาวน์โหลดเทมแพลต Metacognition และวิธีการใช้งานได้ที่นี่

https://educationendowmentfoundation.org.uk/news/eef-blog-modelling-independence-the-seven-step-model-planning-tool

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถอดรหัสระบบผลิตและพัฒนาทักษะครู “มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล”

Cragside Primary School (โรงเรียนประถมแครกไซด์) 

จัดการผู้เรียนบนความหลากหลายและไม่มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

Cambois Primary School  โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ

อ้างอิงแหล่งข้อมูล

https://elliotfoundation.co.uk/schools

https://www.get-information-schools.service.gov.uk/Establishments/Establishment/Details/138888

https://researchschool.org.uk/

https://researchschool.org.uk/billesley

https://researchschool.org.uk/billesley/about-us/evidence-leads-in-education

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า