เทคนิคการเรียนรู้ Active Learning Spectrum (ตอนที่ 2) เทคนิคแบบซับซ้อน

Share on

 5,513 

มาต่อกันกับอีก 10 วิธีการเรียนรู้แบบ Active Learning Spectrum ซึ่งกระบวนนี้จะมีความซับซ้อนและเน้นการปฏิบัติกว่า 8 วิธีที่กล่าวไปเมื่อตอนแรกเป็นลำดับขั้นและเน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้นกว่า 8 วิธีแรก 

9. วิธีการระดมสมอง (Brainstorming) 

เป็นการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ หรือเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นที่นิยม และใช้กันบ่อย

โดยการใช้เทคนิคปริมาณของความคิดสำคัญกว่าคุณภาพ ให้เด็กคิดมาก่อน แล้วค่อยมาคัดแยกทีหลัง ให้เด็กได้ลองออกนอกกรอบ คิดอย่างเป็นอิสระ มีมุมต่าง มุมตรงข้ามหรือไม่ ในขั้นตอนเริ่มต้นการคิดน้อยแต่มีคุณภาพ บางทีอาจทำให้มองไม่เห็นภาพกว้างของตัวงาน หรือเนื้อหานั้น ๆ โดยในขั้นตอนแรกจะยังไม่วิพากษ์วิจารณ์หลังจากนั้นเริ่มสร้างไอเดียใหม่ที่ใช้ได้จากทั้งหมดที่คิดมาทั้งหมด แล้วค่อยประเมินว่าแต่ละอันมีคุณภาพไหม มีข้อมูลสอดคล้องหรือไม่

อาจมีปัญหาที่บางคนภายในกลุ่มไม่เสนอความคิด หรือเสนอความคิดแนวเดียวกัน แก้ด้วยการให้แต่ละคนแยกกันไปคิดก่อน แล้วค่อยมารวมกลุ่ม หรือจะใช้วิธีใช้ปากกาคนละสีเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นเจ้าของความคิดนั้น 

10. วิธีลงมือปฏิบัติผ่านเทคโนโลยี Technology (Digital & Non-Digital Hands-on Technology)

เรียนรู้โดยการปฏิบัติ และฝึกคิดเชื่อมโยงในขณะที่เด็กกำลังลงมือปฏิบัติผ่านเทคโนโลยี

โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกกระบวนการที่ผ่านดิจิตอล เพียงแค่มีกระบวนใดกระบวนการหนึ่งที่ผ่านดิจิตอลก็พอ ซึ่งรวมไปถึงการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

11. ยกกรณีศึกษา (Case Studies) เพื่อที่จะเอามาทบทวนการเรียนรู้ หรือเพื่อให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์นั้น หรือให้แก้ปัญหานั้น ใช้ได้ทั้งแบบรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

ต้องเลือกกรณีศึกษาให้ดี

ตัวอย่าง 

ครูเชาว์ดูแลศูนย์เด็กเล็ก ให้เด็กได้เรียนรู้ ความเสียสละของครูเชาว์มีจุดไหนที่เป็นจุดแข็ง จุดไหนที่ยังต้องทบทวนหรือปรับปรุงอย่างไร ในสถานการณ์นั้น ซึ่งใช้เวลา 3 วัน ให้เด็กหากรณีศึกษาเกี่ยวกับจรรยาบรรณครู แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน การใช้ chat gpt เขียน บทความ ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร ใช้อย่างไร ระมัดระวังอย่างไร

12.  วิธีการบรรยายแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Lecture)

เป็นวิธีที่เป็นแบบการสอนบรรยายปกติ ทำให้ตรงประเด็นกับเนื้อหา แต่ในวิธีนี้มีการเพิ่มปฏิสัมพันธ์มากขึ้น โดยการบรรยายช่วงหนึ่งแล้วหยุด มีการจัดกิจกรรมระหว่างการบรรยายเพิ่มเพื่อดึงดูดผู้เรียน ทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นก่อนที่จะทำการบรรยายต่อ พอทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ก็อาจสรุปแนวคิดในการใช้วิธีการบรรยายแบบปฏิสัมพันธ์ครูต้องเข้าใจเรื่องความสนใจของนักเรียน มีการแบ่งช่วงจังหวะให้เหมาะสม ที่จะทำกิจกรรม 

ตัวอย่างกิจกรรม

-Think pair share

– game

– reflection คิดเห็นกับกิจกรรม อยากนำไปใช้อย่างไรในอนาคต โดยเด็กคนไหนชอบพูดก็พูด คนไหนไม่ชอบก็ให้เขียนได้

-ขั้นการบรรยายด้วยคำถามง่าย ๆ แล้วให้เด็กตอบ หรือช่วยกันหาคำตอบ

-สาธิตวิธีการทำในส่วนที่สามารถทำได้ 

-อภิปราย

-ให้สรุป เพื่อไปบทเรียนต่อไปก็จะเข้าใจได้

13. สร้างสถานการณ์จำลอง (Activereview Sessions : Games Or Simulations)

เป็นเทคนิคที่สามารถสร้างความสนุกให้กับเด็กได้ เป็นการใช้เกม หรือสถานการณ์จำลองเพื่อทบทวนบทเรียน โดยอาจใช้วิธีการอื่นไปก่อนหน้าแล้ว และใช้เกมเป็นตัวทบทวนอีกที ทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น หรืออาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนเลยก็ได้เพื่อให้ผู้เรียน เรียนเป็นกลุ่ม ตอบคำถามด้วยตัวเอง ให้มีส่วนร่วม สถานการณ์จำลองต้องเป็นสถานการณ์ที่ท้าทาย ได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมที่ไม่สามารถแสดงออกได้ในสถานการณ์จริง 

ตัวอย่าง

สอนในห้องคอมพิวเตอร์ มีปัญหาเกิดขึ้น นักศึกษาจะแก้ปัญหาอย่างไร เอาจุดที่แก้ไขปัญหามาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง ถูกผิดอย่างไร มีวิธีการอื่นใดที่สมควรกว่า

14. วิธีการเรียรู้ด้วยการตั้งคำถาม (Inquiry Learning)

เป็นเทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสังเกตสถานการณ์รอบตัว แล้วตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ตัวเด็กสงสัย สิ่งที่อยากตั้งคำถาม จากนั้นจึงหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วประมวลคำตอบโดยอาศัยข้อมูลที่ได้ เพื่อคลี่คลายคำถามด้วยตัวเอง เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง และหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ตั้งคำถามกับเรื่องนั้น ถ้าเจอในสถานการณ์จริงได้ยิ่งดี แต่ถ้าไม่ได้ก็สามารถใช้สื่อแทนได้ 

ตัวอย่าง สงสัยเรื่องอะไรที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น เรื่องพฤติกรรมเด็ก หรือเป็นการเอาวิดีโอมาให้ดูเพื่อจุดประกาย

2. อาจเป็นการสัมภาษณ์ หาทฤษฎี วิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคำถามนั้น

3. ต้องอธิบายหลักฐาน นำเสนอข้อมูลกับเพื่อน กับอาจารย์ ทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ (คุยกับครูอย่างเดียว ไม่ต้องคุยกับคนทั้งห้อง)

4. เชื่อมโยงความรู้ที่สืบเสาะมา สรุปความรู้ โดยคำตอบที่ได้อาจมีหลายคำตอบ 

5. สร้างข้อโต้แย้ง และข้อสนับสนุน ในแต่ละประเด็นที่สรุปมาได้

15. วิธีการอภิปรายแบบตัวต่อความรู้ (Jigsaw Discussion)

*** ประเด็นที่ต้องคิดคำนึง ***

จำนวนคนต้องเท่ากัน เท่ากับจำนวนประเด็นการเรียนรู้

คนที่เกินก็เอามาเป็น facilitator ต้องฟังเพื่อนในแต่ละกลุ่ม

บางคนก็ไม่มาวันที่ทำ ก็ต้องเลื่อนและนัดเวลากันใหม่

คนที่มาอภิปรายต้องเข้าใจความรู้อย่างแท้จริง ไม่งั้นสิ่งที่นำไปแลกเปลี่ยน น้ำหนักน้อยไป ไม่สามารถต่อยอดได้

รูปแบบ Expert Group – Teaching Group

ตัวอย่าง จัดกลุ่ม มี 4 เนื้อหา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ให้แต่ละคนอ่านเนื้อหา 20 นาที จนเข้าใจแต่ละกลุ่มจะศึกษาเรื่องเดียวกันอย่างละเอียด ต้องเข้าใจทิศทางเดียวกัน ตรงกัน จากนั้นจัดกลุ่มใหม่โดยแต่ละคนแยกกันไปแต่ละกลุ่ม ให้กลุ่มใหม่ที่สร้างขึ้นนั้น มีสมาชิกจากทุกกลุ่มเดิม (หากมีกลุ่ม ABCD กลุ่มใหม่จะต้องมีคนที่มาจากทั้ง A B C และ D)

รูปแบบ Home group – Expert group

หนึ่งกลุ่มศึกษาทั้ง 4 ประเด็น ในกลุ่มมีคนที่ทำหน้าที่นั้นในแต่ละประเด็นให้ครบทุกประเด็น มีการแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม ก่อนที่จะนำแต่ละคนที่ศึกษาในเรื่องเดียวกัน ไปอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อศึกษาในประเด็นนั้นให้ลึกซึ้งขึ้น มองเห็นความเหมือน ความแตกต่างของแต่ละกลุ่มที่ได้ศึกษามา จากนั้นจึงกลับมา home group ว่าได้อะไรเพิ่มเติม เอากลับมาบอกคนในกลุ่มเดิม ก่อนที่จะสรุปแนวคิด ซึ่งรูปแบบนี้ใช้เวลามากกว่ารูปแบบแรก

16. บทบาทสมมติ (Role Playing)

คือวิธีการสอนกำหนดหัวข้อเรื่อง ปัญหาต่า งๆ หรือสร้างสถานการณ์ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แล้วให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวล่วงหน้า วิธีการสถานการณ์จำลอง โดยจะกำหนดหัวข้อเรื่องใกล้เคียงกับความจริง ให้ผู้เรียนเตรียม script แล้วจึงแสดงบทบาท

จับกลุ่มเด็กให้คิดบทแสดงเอง หรืออาจให้เป็นคนแสดงเลยโดยเอาบทละครให้ดูเลย แต่ละคนเล่นไปตามบทบาทสมมติ แสดงเป็นคนอื่นตามบทที่กำหนด กำหนดสถานการณ์ ถ้าเจอจะทำยังไง โดยบทละครต้องมีปัญหา และนำเสนอวิธีการแก้ไขเช่น เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครู เขียนบทละครเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครู และแสดง 

โดยที่ครูจะไม่ขัดการแสดงนั้น ยกเว้นว่าออกนอกเรื่อง หรือเป็นเรื่องที่ sensitive ที่สะเทือนใจ สร้างความขัดแย้ง หลังการแสดงจบ มีการวิเคราะห์ อภิปรายร่วมกัน สิ่งที่แสดงสอดคล้องกับเนื้อหา กับเป้าหมายการเรียนรู้ครั้งนี้หรือไม่ จุดไหนที่สอดคล้อง จุดไหนที่ยังไม่สอดคล้อง ยังเป็นอย่างอื่นได้อีกไหม วิธีการนี้ช่วยเสริมจินตนาการ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้ใช้กระบวนการคิด การทำงานแบบร่วมมือ ทว่าวิธีการนี้มีเตรียมการนาน และมีความซับซ้อน

17. ละครแทรกสด (Forum Theater)

มีความใกล้เคียงกับบทบาทสมมติ แต่จะแตกต่างตรงที่ละครแทรกสด ผู้ชมจะมีส่วนร่วมในการแสดงด้วยในวิธีการนี้บทจะไม่ได้กำหนดว่าคำตอบของปัญหาคืออะไร แต่ผู้ชมจะต้องเป็นคนคิดว่าควรแก้ปัญหาอย่างไรมีวิธีการคือจะมีการเล่นละครซ้ำโดยในรอบแรกจะเล่นละครไป และไม่มีคำตอบสำหรับปัญหานั้น ในครั้งต่อไปให้ผู้ชม ขึ้นมาบนเวทีแทนคนแสดง เขาจะเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ทำให้ตอนจบดีขึ้น อาจมีผู้ชมมากกว่าหนึ่งคนที่มาเปลี่ยนแปลงการแสดง โดยจะเรียกว่า ผู้ชมผู้แสดง

วิธีการนี้ทำให้เด็กเกิดความคิดเชิงวิพากษ์ เพราะไม่บอกว่าคำตอบคืออะไร ต้องคิดด้วยตัวเอง ฝึกการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เหมาะกับการเรียนรู้ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง critical thinking แต่ละคนต้อง reflect ต้องสะท้อน ต้องแชร์ออกมาได้ด้วย นอกจากนี้ยังได้ฝึกการแสดงต่อหน้าคนอื่น เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างใช้เวลานาน และต้องทำให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย เริ่มในห้อง จบในห้อง

18. วิธีปฏิบัติหน้างาน + สถานที่จริง  (Experiential Learning)

เป็นวิธีการที่เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ผลของการเรียนรู้ก็มาก และยังเป็นวิธีที่ Effect size สูงสุด (ผลของการเรียนรู้) โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือจริงเป็นการทดลองจริง ปฏิบัติหน้าที่จริง เช่น วิชาการฝึกงาน วิชาการภาคสนาม

ถ้าเป็นไปได้คือให้ครู พาไปยังสถานที่จริง ทำจริงเลย เช่น ทำแลบ ก็ไปห้องแลบเลย ไปเรียนรู้แล้วสะท้อนว่าได้อะไรบ้าง

มี 4 ขั้นตอน วนลูปเป็นวงกลม

1.ให้เด็กอยู่ในสถานการณ์จริง ได้รับประสบการณ์จริง สัมผัสสิ่งนั้นด้วยตัวเอง ให้บันทึก และสังเกต

2.สิ่งที่มีประสบการณ์สามารถนำไปเชื่อมโยงอะไรได้บ้าง reflect สรุป วิพากษ์ อธิบาย นำไปใช้อะไรได้บ้าง เขียนแล้วเชื่อมโยงออกมา

3.สรุปเป็น concept แนวคิดของตัวเอง นำไปใช้อะไรได้บ้าง ปรับแนวคิดนี้ไปใช้ยังไง

4.ลองเอาไปลงมือทำกับความรู้ใหม่

ตัวอย่าง

ให้เด็ก ป.1 ทดลองทำเป็นขั้นตอน

ขั้น 1 ทำน้ำสับปะรด บีบน้ำ ผสม ต้ม ทุกกระบวนการเอง

ขั้น 2 ชวนเด็กคิด ได้ทำอะไรบ้าง สับปะรดหวานกับเปรี้ยวเป็นไง

ขั้น 3 ต้องใส่น้ำตาลเท่าไร มีขั้นตอนอย่างไร 

ขั้น 4 ลองทำใหม่อีกรอบ โดยใช้แนวคิดที่ปรับมา

ทำให้เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้ และการทำซ้ำ

ลีลาการเรียน Kolb 4 แบบ 04.58.32

Active Learning Spectrum เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและเน้นการใช้ระบบความมีปฏิสัมพันธ์มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ในระบบนิเวศการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อดึงดูดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่แบบง่ายไปจนถึงแบบซับซ้อน และตั้งแต่การใช้เวลาในห้องเรียนแบบสั้นไปจนถึงแบบยาว สเปกตรัมนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนนำการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปใช้ในห้องเรียนของตน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและความเข้าใจของนักเรียน เทคนิคต่างๆ จะถูกจัดประเภทตามความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ ซึ่งช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเป้าหมายการสอนและความต้องการของนักเรียนเฉพาะของตน

บทสรุป

 Active Learning Spectrum นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนนำการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปใช้ในห้องเรียนของตน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและความเข้าใจของนักเรียน เทคนิคต่าง ๆ จะถูกจัดประเภทตามความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ซึ่งช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเป้าหมายการสอนและความต้องการของนักเรียนเฉพาะของตน  ซึ่ง อ.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ เอง เคยพยายามพิสูจน์ว่าความซับซ้อนของกระบวนการ ยิ่งซับซ้อนมาก จะยิ่งทำให้ effect size ด้านความก้าวหน้าการเรียนรู้ของเด็ก มากขึ้นไปด้วยหรือไม่ ผลปรากฏว่า ‘ไม่’ ยังมีองค์ประกอบอื่นที่ทำให้ Effect Size ผกผันตาม ซึ่งคุณครูจะต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆประกอบ เช่นแต่ละวิธีได้ใช้เวลาเหมาะสมแล้วหรือไม่ หรือสอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนแล้วหรือไม่  ซึ่งคุณครูสามารถนำ 18 กระบวนท่า Active Learning Spectrum นำไปใช้เพื่อการออกแบบการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ เป้าหมายการเรียนรู้ และเป็นไปตามมาตรฐานตัวชี้วัดได้ตามความต้องการ แต่อย่าลืมว่าทุกวิชาเรียนสามารถใช้การเรียนรู้แบบ Active Leaning ได้ แต่ต้องเลือกและพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาที่ที่จะนำไปใช้ ใน 1 วิชาสามารถใช้ได้มากกว่า 1 กระบวนท่า Active Learning Spectrum สามารถออกแบบและเลือกใช้เหมาะสมกับชุดวิชานั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปถึงจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ 

ที่มา: 

“การเปรียบเทียบผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 18 วิธีเพื่อวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาตามแนวคิดของคอล์บ”, ธันวิช วิเชียรพันธ์, 2023

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/263938

Active Learning, เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, การญ์พิชชา กชกานน, 2024

 5,514 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า