โรงเรียนหนองขุ่นวิทยา จ.อุบลราชธานี โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Share on

 10,913 

โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

โครงการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เทคนิคการสร้างแนวทางความสุขและเป้าหมายจากการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อให้ผู้เรียนเก่ง ดี มีสุข ดำเนินการภายใต้การดูแลโดยพระครูจารุปริยัติการ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมหนองขุ่นวิทยา 

การพัฒนาคุณภาพจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมหนองขุ่นวิทยา พบสภาพปัญหารื้อรัง คือการขาดแคลนครูผู้สอนตามเอกวิชา ครูไม่ครบชั้น เนื่องจากครูมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งสาเหตุมาจากที่ครูไม่มีความมั่นคงในอาชีพ และที่สำคัญคือปัญหาด้านงบประมาณ 

จากการสังเกตของครูผู้สอนวิชาภาษาไทย พบว่า  สามเณรนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลายรูป มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย ไม่สามารถอ่านออกเสียงสะกดคำได้ถูกต้องตามอักขรวิธี และขาดทักษะการอ่านการเขียน เนื่องจากกครอบครัวที่มีฐานะยากจน และไม่สามาารถเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ได้

โดยวิสัยทัศน์ที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนในรูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกและตอบสนองทักษะของผู้เรียนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ในการพัฒนาผู้เรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูง การสื่อสาร การอ่านเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการสร้างและเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking) ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า ที่เกิดจากการอ่าน เขียน ตั้งคําถาม อภิปรายร่วมกัน ลงมือปฏิบัติและได้มีกระบวนการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาจริง โดยมีคณะครูทําหน้าที่เป็นโค้ชและส่งมอบประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสมรรถนะของนักเรียนจึงจำเป็นต้องมีแนวทางการสอน  (Teaching Approach) ที่สนับสนุนให้นักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะ แนวทางการสอนควรวางอยู่บนหลักการและทฤษฎีการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับการออกแบบการจัดการเรียนรู้  ผศ.ดร. สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง ได้สังเคราะห์แนวทางการสอน “การสะท้อนคิดแก้ปัญหา” หรือ Reflective Problem – Solving Approach (RePA) มาใช้แก้ปัญหาในการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย

  1. ขั้นนำเสนอปัญหา (Problem Solving) 
  2. ขั้นลงมือแก้ปัญหา (Problem Solving) 
  3. ขั้นแลกเปลี่ยน แนวคิด (Sharing Ideas) 
  4. ขั้นสรุปบทเรียน (Summarizing Lesson) 
  5. ขั้นสะท้อนคิด (Reflective Lesson)

โดย ในการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ได้นำแนวคิดของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (PLC) ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทีมนักการศึกษามาร่วมกันสะท้อนคิด การลงไปเยี่ยมติดตามเพื่อเรียนรู้ร่วมกันที่หน้างานจริงจนกว่าจะเกิดผลประจักษ์ของแนวปฏิบัติที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือได้แนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ที่ใช้ในการแก้ปัญหานั้น 

การดำเนินงานของทีมทำงานโรงเรียน 

ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning สร้างความร่วมมือกันทำงานอย่างเป็นรูปธรรม บุคลากรในโรงเรียนต่างมีส่วนร่วมดําเนินการเรียนการสอนทั้งจากคณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรโรงเรียน ใช้กระบวนการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ (PAOR) และนำกระบวนการ PLC ในการร่วมกันสนับสนุนพัฒนาแก้ไขกระบวนการเรียนการสอนเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมุ่งเป้าเพื่อให้สามเณรนักเรียนนั้น เก่ง (Knowledge)  ดี  (Purpose) มีสุข (Participation) 

โมเดลกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบสะท้อนคิดแก้ปัญหา
ร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 
โรงเรียนหนองขุ่นวิทยา

เพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนทั้ง 6 ด้านอันได้แก่ 1) การจัดการตนเอง 2) การคิดขั้นสูง  3) การสื่อสาร  4) การรวมพลังทํางานเป็นทีม  5) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  6) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการ ให้งอกงามเติบโตแก่ผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนตามวิธีการสอนแบบ “การสะท้อนคิดแก้ปัญหา”

ด้วยบริบทโรงเรียนหนองขุ่นวิทยาในแต่ละปีจะมีสามเณรที่มาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นจำนวนมาก และในแต่ละวันจะมีการทำวัตรสวดมนต์ ซึ่งถือว่าเป็นกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุ สามเณรที่ปฏิบัติต่อเนื่องมายาวนาน การสวดมนต์ของสามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และสามเณรระดับประถมที่บวชใหม่ ยังไม่มีทักษะและยังไม่สามารถสวดมนต์เพื่อปฏิบัติตามกิจนิมนต์ได้ จึงจำเป็นจะต้องมีรุ่นพี่เป็นผู้ช่วยสอนเพื่อให้สามเณรสวดมนต์ได้ เพื่อจะได้นำไปใช้ในกิจนิมนต์ต่างๆได้ และเพื่อให้สามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และสามเณรระดับชั้นประถม  มีสมาธิ มุ่งมั่น และอดทน มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันในหมู่คณะ

ดังนั้นเพื่อให้สามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และสามเณรระดับประถมผู้บวชเข้าศึกษาใหม่ สามารถที่จะสวดมนต์ได้ ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการพี่ฝึกน้องสวดเจริญพุทธมนต์ขึ้น เพื่อพัฒนากิจวัตรของสามเณรให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

ภาพกิจกรรมการเรียนการสวดเจริญพุทธมนต์ ของโรงเรียนหนองขุ่นวิทยา จ.อุบลราชธานี

ข้อมูลประกอบการเรียน
“รายงานผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้” ภายใต้โครงการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สู่ต้นแบบพื้นที่นำร่อง โครงการส่งเสริมการอ่านสะกดคำ โดยใช้นิทานชาดกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของผู้เรียน

 10,914 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า