โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปี 2564 ในปีมีเป้าหมายที่ท้าทายยิ่งกว่าเดิม มากับมาตรการที่พร้อมขับเคลื่อนมากขึ้น โดยมีทีมที่ปรึกษาและทีมงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ช่วยหนุนเสริมโครงการออกเดินทางในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นก้าวที่สำคัญของการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร
ความท้าทายแรก จากจำนวนการขยายผลพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนถิ่นทุรกันดารเพิ่มมากขึ้นเป็น 70 โรงเรียน มี 10 พื้นที่กองกำกับการ พร้อมส่วนเติมเต็มทางวิชาการจากภาคีเครือข่ายเป็น 11 มหาวิทยาลัย และยังมีโค้ชเพิ่มเป็นจำนวนทั้งสิ้น 22 คน
อีกหนึ่งความท้าทายคือการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนที่ต้องการนำร่องจากห้องเรียนที่แต่ละโรงเรียนที่เริ่มพัฒนาตั้งแต่ระยะที่ 1 สู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนทั้งโรงเรียน
โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มี 3 ชุด มาตรการขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อศิษย์ สู่การเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพัฒนาคุณภาพตนเอง กลายเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อเสริมแต่ละโรงเรียนไปให้ถึงเป้าหมายสู่การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ
มาตรการชุดที่ 1
มาตรการสร้างฐานคุณภาพ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประกอบด้วย 4 Q
Q Goal ที่มุ่งเน้นตั้งเป้าหมายพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งเกิดจากความต้องการจำเป็นของทุกฝ่าย
Q Principal พัฒนาสมรรถนะของครูใหญ่ให้บริหารจัดการงาน โรงเรียนที่ส่งผลกับการพัฒนานักเรียน
Q Info การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นรายบุคคลซึ่งระบบนี้สามารถติดตามผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้
Q Health การจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ใน เพื่อเอื้อให้เกิด สุขภาวะปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน
มาตรการชุดที่ 2
หนุนเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ เมื่อคุณครูเข้าใจแล้วจะนำไปสู่การทำแผนการสอนของตัวเอง
กำหนดเป้าหมายของการสอน การออกแบบวิธีการสอน การออกแบบการวัดและประเมินผล
Q OLE พัฒนาครูให้เข้าใจการเรียนรู้ทั้ง 3 องค์ประกอบ
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร และรายวิชา
2. เข้าใจการจัดกระบวนการเรียนรู้
3. การวัดและประเมินผล
Q Classroom
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เรียนสุข สนุกสอน ให้นักเรียนเรียนผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการ
มาตรการชุดที่ 3
สร้างเครือข่ายเพื่อเสริมพลังเครือข่ายภายในและภายนอก
Q PLC เปิดวงคุยในโรงเรียน เพื่อพัฒนาสู้เป้าหมาย ในการพัฒนาผู้เรียน
Q Network เปิดวงคุยแลกเปลี่ยนภายในโรงเรียน ขยายวงสู่เครือข่ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ยึดโยงกับโรงเรียน ร่วมพัฒนา
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ครูเปลี่ยน เด็กเปลี่ยน ชุมชนเปลี่ยน สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองได้ มีความมั่นใจ ศรัทธาในโรงเรียนมากขึ้น
การจัดการเรียนการสอนเป็นรูปธรรมเชื่อมโยงพัฒนาครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดระบบที่สะท้อนได้ถึงการเปลี่ยนแปลง
- ระบบการจัดการโรงเรียน ตชด.
- ระบบการจัดการเรียนรู้
- ระบบการพัฒนาครู
- ระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
- ระบบความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน ที่จุดไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงติดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้ขับเคลื่อนสร้างประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
Writer
- Admin I AM KRU.