การศึกษาไม่อาจเดินหน้าเพียงลำพัง ถ้าร่วมมือกันก็ไปได้ไกล การทำงานเป็นทีมหัวใจสำคัญที่จะนำพาแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนเชิงพื้นที่เดินทางไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งเป้าหมายไว้ หัวใจคำคัญ มี 6 แกนหลัก ที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานในการกำกับการดูแลโรงเรียนเป็นหลักในการสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ การบริหารจัดการ เพื่อเน้นให้เกิดคุณภาพ ทั้งในด้านการต่อยอดการพัฒนาขยายผลกับเครือข่ายในพื้นที่ที่เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนสำคัญทั้งภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ชุมชน ชาวบ้าน หรือแม้แต่ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะพร้อมสร้างความยั่งยืนการจัดการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วม ทั้งในมิติ ค่านิยม (Values) ทัศนคติและอุปนิสัย (Attitude) ทักษะ (Skills) และความรู้ (Knowledge) มาติดตามบทบาทหน้าที่ของทั้ง 5 ด้าน ที่จะสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่
- สร้างการมีส่วนร่วม ความร่วมมือไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมหากขาดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย หน้าที่ของ “กลไกระดับพื้นที่” (Core Team) คือการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดหลักสูตรการพัฒนาครู พัฒนาผู้บริหารสร้างความเข้าใจพร้อมสร้างแรงบันดาลใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินหน้าของหน่วยงานที่จะร่วมมือออกแบบแนวทางการพัฒนาสอดคล้องไปทั้งจังหวัดผ่าน Keyman สำคัญในภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมมีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนโดยใช้ (Developmental Evaluation) เฉพาะต้นสังกัดที่จะเห็นเป้าหมายร่วมกันของการพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
- การพัฒนาด้านวิชาการ เป็นการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนและโรงเรียน โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ชุมชน เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันระดมความคิดนำมาออกแบบการขับเคลื่อนเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ใช้การหนุนเสริมทางวิชาการสร้างเครื่องมือในการติดตามผลประเมินผล เช่น
2.1 3R Reading อ่านได้ /Writing เขียนได้ /Rithemetics คิดเลขได้
2.2 7C 7 Competency สมรรถนะ (Competency) ที่หมายถึง ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็น
– Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
– Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
– Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
– Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
– Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
– Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
– Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
- การจัดการความรู้และการสื่อสาร การจัดการองค์ความรู้เพื่อจัดเก็บและเผยแพร่เพื่อการพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น โดยใช้การวิจัยเชิงประเมินด้านกระบวนการพัฒนาตลอดโครงการ จัดการองค์ความรู้ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น และเปลี่ยนเรียนรู้ Show Case / Online PLC Coaching พร้อมเวทีรายงานผลการดำเนินงาน มีการรวบรวม Good Practice + Best Practice และสรุปองค์ความรู้ที่ได้เพื่อเผยแพร่สร้างความรู้เพื่อการต่อยอดในอนาคต
- การสร้างเครือข่าย การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นการเชื่อมโยงการทำงานให้เกิดการเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างเพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาในเครือข่ายต้นสังกัด 7C + Competency สร้างความเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะ ให้คำปรึกษา แก้ปัญหา สะท้อนผลเพื่อพัฒนาคุณภาพครู และสามารถขยายผลไปนอกเครือข่ายได้
- การบริหารจัดการ เน้นการบริหารจัดการที่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สร้างให้ทุกฝ่ายทำงานด้วยคาดหวังผลลัพธ์ร่วมกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมองเห็นคุณค่าของการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดไปในทิศทางเดียวกัน ใช้วง PLC สังสรรค์วิชาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน พร้อมีมีการจัดการ การบริหารความเสี่ยง ประเมินสถานการณ์ เพื่อปรับแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย มีการถอดบทเรียนเพื่อการสะท้อนการทำงานและเพื่อการพัฒนาต่อ พร้อมีระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ดีพร้อมใช้งาน
โดยทั้ง 5 ด้านมุ่งเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่โดยมี
ผู้อำนวยการ Smart Leader
คุณภาพสถานศึกษาอยู่ในมือผู้บริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ นั้นถือเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นแกนนำและกลไกหลักในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ควบคุมกำกับและส่งเสริม และผลักดันแผนแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำนโยบายจากทั้งหน่วยงานต้นสังกัด นโยบายความร่วมมือกับภาคีภายใน และข้ามเครือข่ายมาใช้ในภาคปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ
นอกจากนี้แล้วยังต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อครู และพร้อมเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างชุมชน เครือข่ายภายใน ภายนอกให้การดำเนินการทั้งด้านนโยบายและการนำมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเชิงคุณภาพของนักเรียน พัฒนาศักยภาพ และสร้างให้ชุมชมเข้มแข็งมองเห็นเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาและพร้อมเดินหน้าไปกับกิจกรรมของโรงเรียน โดยมีแกนหลักที่ต้องบริหารให้เดินหน้าไปพร้อมกัน
ครูวิชาการ Teacher as a Change Agent
ครูวิชาการ อีกหนึ่งหัวใจขับเคลื่อนสำคัญของการพัฒนาด้านวิชาการในรั้วโรงเรียน ที่ต้องทำงานเชื่อมประสานกับผู้บริหารโรงเรียนและเพื่อนครู และยังต้องเป็นตัวกลางประสานถึงผู้ปกครองชุมชนในบางครา ผู้ที่ต้องปฏิบัติทั้งบู๊ด้านวิชาการให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามแผนงานนโยบาย และทั้งบุ๋นเชิงกลยุทธ์ที่ต้องนำพาเพื่อนครูให้เข้าใจเป้าหมาย รู้จักเพื่อนครูว่าแต่ละคนเก่งอย่างไร และมีจุดติดขัดตรงไหนที่ในฐานะผู้ดูแลงานด้านวิชาการจะนำไปหนุนเสริมได้ ให้ครูพร้อมใช้องค์ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงห้องเรียน
ครูผู้สอน Smart Teacher
นักเรียน คือผลสะท้อนคุณภาพการศึกษา ซึ่ง ครู เป็นหน่วยสำคัญที่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด ดังนั้นการยกระดับคุณภาพศึกษาต้องมุ่งเป้าไปที่เรื่องการพัฒนาคุณภาพครู “กลไกระดับพื้นที่” (Core Team) จึงต้องสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การผลิตครูรุ่นใหม่ ๆ พร้อมกับเพิ่มศักยภาพครูอาวุโสในโรงเรียนให้เป็นนักออกแบบการเรียนรู้ เป็นครูโค้ช อำนวยการเรียนรู้ เป็นหน่วยขับเคลื่อนทางวิชาการ พร้อมมีทักษะความรู้หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการผู้เรียนในปัจจุบัน โดยให้หน่วยงานระดับนโยบายในพื้นที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มีศูนย์พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านผู้นำการศึกษา และการทบทวนกฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติให้เอื้อต่อการผลิตและพัฒนาครู พร้อมแก้ไขปัญหาคุณภาชีวิตครู ไปพร้อมกัน
นักเรียน Smart Learners
สุภาษิตของแอฟริกากล่าวไว้ว่า ‘เด็กคนเดียวเลี้ยงกันทั้งหมู่บ้าน’ นั้นไม่เกินจริง ดังนั้นคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน คือผลสะท้อนคุณภาพด้านนโยบายการศึกษา คุณภาพการสอนของครู คุณภาพโรงเรียน และความร่วมมือของคนในชุมชน ที่จะช่วยให้เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาได้อย่างปลอดภัย มีสุขภาพกายและใจที่ดี และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากคนหลายกลุ่มที่อยู่รอบตัวเด็กที่สามารถสนับสนุน ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเด็ก ที่จะร่วมกันออกแบบอย่างไรให้กำลังสำคัญของอนาคตชาติมีความรู้ มีทักษะและสมรรถนะ ได้เรียนรู้ตามความต้องการ และมีความสามารถในการประกอบอาชีพได้ ดังนั้นการขับเคลื่อนที่จะให้เด็กไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้สามารถถอดประเด็นออกมาได้ดังนี้
Values
- มี Growth Mindset
- พลเมืองโลกที่เข้มแข็ง
- การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
- มีวินัย คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
- มีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวม
- ภาคภูมิใจในตนเอง / รากเง้า
Attitude
- มองโลกด้วยทัศนคติเชิงบวก
- มีเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- ยืดหยุ่น ปรับตัว ริเริ่ม
- เคารพผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่าง
- รักความถูกต้อง
- เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น
Skills
- สมรรถนะการสื่อสาร
- มี 7 ทักษะทางความคิด
- ฉลาดทางอารมณ์
- ทักษะประยุกต์ใช้ความรู้
- ทักษะในศตวรรษที่ 21
- รู้เท่าทันสื่อ/เทคโนโลยี
- ทักษะเทคโนโลยี/นวัตกร/ICT
- คิดเชิงนวัตกรรม
- เรียนรู้ด้วยตนเอง
- เป็นผู้นำที่ดี
- ทำงานเป็นทีม
- จัดการตนเอง / ควบคุมตนเอง
Knowledge
- มีความรู้เพื่อใช้ในการเรียน/อาชีพ
- ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ 2 ภาษา
- ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่
- เรียนต่อ/มีทักษะอาชีพ/ผู้ประกอบการ
- วางแผนการเงิน/อนาคต/จัดการชีวิต
ผู้ปกครอง /ชุมชน Smart Community
เด็กจะพร้อมออกไปเรียนรู้หรือไม่ หัวใจอยู่ที่ผู้ปกครอง
การเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กคนหนึ่งพร้อมเพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนอนาคตของชาติ นั้นต้องเตรียมกันตั้งแต่ในอยู่ครรภ์ มารดาต้องได้รับสุขภาพใจ สุขภาพกาย สารอาหารที่เป็นประโยชน์ทั้งตัวแม่และเด็ก เมื่อคลอดออกมาต้องเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ ตั้งแต่โภชนาการ ฝึกพัฒนาการตามช่วงวัย การอบรมบ่มนิสัย เรื่องระเบียบวินัย การกำกับตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมสู่โรงเรียนที่ให้ครูเป็นผู้รับไม้ต่อในเรื่องวิชาการ การใช้ชีวิตในสังคมโรงเรียน แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ผู้ปกครอง / ชุมชน ต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้านการออกแบบของการศึกษาของบุตรหลานไปพร้อม ๆ กับครู โรงเรียนด้วย ต้องมีการสะท้อนกลับด้านข้อมูล สะท้อนผลการเรียนกับครู หรือมีส่วนในการนิเทศการเรียนการสอนของครูเพื่อให้บุตรหลานได้รับคุณภาพการศึกษาที่ดี
Writer
- Admin I AM KRU.