ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ
การวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อศิษย์และคุณภาพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป้าหมาย
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
โดยมีแนวคิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการวิจัยปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม มุ่งเน้นกระบวนการสร้างพลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใช้กระบวนการที่นักวิจัยนำพาเพื่อจุดประกายพลังพัฒนา โดยแผนการทำงานหลัก ๆ จะมี 3 ส่วนด้วยกันคือ
- ปัจจัย
- กระบวนการ
- ผลผลิต
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือครูใหญ่ที่จะมีวิสัยทัศน์ในเชิงของคุณลักษณะการบริหาร การจัดการศึกษา ความและสัมพันธ์ชุมชน และโยงมาเป็นคุณลักษณะของครูด้วย เพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ และที่ขาดไม่ได้คือภาคีที่มีส่วนร่วมความเป็นหนึ่งเดียวเป็นข้อมูลเพื่อเข้าสู่กระบวนการองค์รวมใช้โรงเรียนเป็นฐานผ่านปัจจัย 4 ขั้นตอนคือ
- สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจำเป็น
- คุณลักษณะของครูใหญ่ ครู
- คุณลักษณะของผู้ปกครอง และชุมชน
- คุณลักษณะของภาคีเครือข่ายการศึกษา
ส่วนในด้านกระบวนการนั้น เน้นการเรียนแบบบูรณาการ ใช้การปฏิบัติเป็นหลัก กระบวนการการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การจัดการประสบการณ์อย่างเป็นระบบ ทำแผนพัฒนาและตั้งเป้าหมาย ออกแบบหลักสูตรรวมกัน
การวิเคราะห์โดยการมีส่วนร่วม และการจัดการแก้ปัญหา ใช้กลไกอบรม เพื่อแก้ปัญหา มีพี่เลี้ยงมาเติมเต็ม การสะท้อนกลับและการเลือกปฏิบัติ สะท้อนผลผ่าน PLC สร้างห้องเรียนจากการสะท้อนผลการดำเนินการและการประเมินผลการปฏิบัติการ วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน และปรับแผนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ใช้สิ่งรอบตัวเป็นแกนการเรียนรู้ ‘เปลี่ยนเรื่องที่น่าเบื่อเรื่องน่าเรียน’ วิธีการนี้นำไปบูรณาการได้หลายวิชา และใช้วงจรคุณภาพ อย่างวงล้อ Design Acation Learning Improve (DALI) และ PLC ขับเคลื่อนห้องเรียน
ผลผลิต / ผลลัพธ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดของขั้นตอนทั้งหมด
สะท้อนถึงผลสำเร็จที่เกิดการพัฒนาในทุกด้าน ตั้งแต่ผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน จะสามารถสะท้อนออกมาให้เห็นถึงการยกระดับผลสำเร็จทางการศึกษาของโรงเรียนให้ดีขึ้น ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพอใจครูและนักเรียนมีความสุขร่วมกัน ผู้บริหารเปิดกว้างรับฟัง ร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนา
Writer
- Admin I AM KRU.