ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตรัง สตูล และพัทลุง
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ครูเพื่อศิษย์ และคุณภาพของโรงเรียน ตชด. เป้าหมาย
ปัจจัยนำเข้า
ฐานทุนคุณภาพโรงเรียน ตชด.
บริบทของ โรงเรียน ตชด. มีความแตกต่างหลากหลาย เชื่อว่าโรงเรียน ตชด. แต่ละแห่ง มีเงื่อนไข มีสถานการณ์ มีองค์ความรู้ กระบวนการทำงาน ความเชื่อ เป้าหมายที่มีความหลากหลาย
ฐานทุนส่วนป่าในโครงการพระราชดำริ
ในบริบทของโรงเรียนที่มีอยู่ตอนนี้ก็คือน้อมนำโครงการพระราชดำริ นำมาจัดการเรียนการสอนโดนนำมาบูรณาการในส่วนป่าสาระ ซึ่งเป็นส่วนป่าที่มีอยู่ในโรงเรียน เป็นทุนเดิม เป็นทุนที่สมบูรณ์ ต้นไม้ทุกต้นเป็นครูให้กับเด็กได้
ฐานทุนวิถีชีวิตของคนในชุมชน
โดยมีผู้ปกครอง นักเรียน ครู ที่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุมันนิ* มีความแตกต่างหลากหลาย
ฐานทุนองค์การความรู้และทักษะทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ
– บูรณาการความรู้ต่างศาสตร์
สร้างความร่วมมือกับคณาจารย์ต่างศาสตร์วิชา จับมือกับความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เช่นความรู้จากตัวผู้ปกครอง ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน พัฒนาศาสตร์แนวใหม่ ชื่อว่า “ศาสตร์ในเชิงบูรณาการ”
– นักวิจัยหน้าใหม่
ต้นกล้านักวิจัยที่เป็นนิสิตครู จับมือกับนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูง ระดับกลาง และนักวิจัยหน้าใหม่ เพื่อมาเรียนรู้กับนักวิจัยที่มีประสบการณ์
– ชุมชนนักปฏิบัติการ
ที่เชี่ยวชาญในการออกแบบกระบวนการ รู้ลึกเพื่อออกแบบการจัดการการเรียนรู้หรือการศึกษาแนวใหม่ได้
– ปรัชญาและระบบอุดมศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคน
นำความรู้ในการวิจัยมาเพื่อออกแบบหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ความรู้ที่สามารถออกแบบครู หรือนักนวัตกรสังคมไปสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้กับโรงเรียน ชุมชน ระบบการศึกษา
กระบวนการพัฒนาครู และยกระดับคุณภาพ โรงเรียน ตชด. พัฒนาตนเอง
“GUIDE นวัตกรรม” กลไกในการขับเคลื่อนโรงเรียนให้เกิดคุณภาพ
G Guide wisdom การชี้นำทางปัญญา ตระหนักว่าการจัดการเรียนรู้ต้องมองกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดปัญญาเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
U Useful knowledge การเชื่อมโยงข้อมูล แหล่งข้อมูล ที่อยู่รอบตัวของผู้เรียน เพื่อทำให้สิ่งนั้นเกิดความหมายกับผู้เรียน
I Integrated inspiring value บูรณาการอัตลักษณ์ในพื้นที่
D Design content and task of learning ออกแบบเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เกิดปัญญา (Guide wishdom)
E Evaluation as learning and equity ทำให้การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
Quality School Researcher (QSR) การขับเคลื่อนโรงเรียน โดยมีทีมนักวิจัยปฏิบัติหรือเรียกว่า Quality School Integrated Teams (QSI Teams) ที่ลงพื้นที่ไปทำงานร่วมกับครูและทีมบูรณาการ โดยตั้งอยู่ในมาตรการ สร้าง หนุน เสริม และสานพลังร่วม ที่ได้มาจาก กสศ. พลังร่วมการทำงานเชิงพื้นในบริบทของ ตชด. กลายเป็นระบบกลไกที่เข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษา
Quality School Integrated Teams (QSI Teams)
ขั้นที่ 1 ก่อตั้งคณะทำงาน 9 ทีม บูรณาการไปใน 9 โรงgรียน
ขั้นที่ 2 ลงพื้นที่โรงเรียน ตชด. เพื่อจัดการเรียนรู้ให้โรงเรียนเข้มแข็ง
ขั้นที่ 3 ครู ตชด. เข้าสู่กระบวนการ PLC และผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
ขั้นที่ 4 คณะอาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการทำงาน ในมหาวิทยาลัยทำซ้ำจนเกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย
ขั้นที่ 5 กระบวนการ Mini Knowledge Management เวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กันระหว่างโรงเรียน ตชด.
เพื่อสร้างโรงเรียน ตชด. มีความเข้มแข็งในตัวเอง ท้ายที่สุดจะไปตอบโจทย์เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
*กลุ่มชาติพันธุ์มันนิหรือมานิ
มันนิเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยของเผ่านิกริโต (nigrito) อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 20-30 คน กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล และยะลา คนไทยเรียกว่า เงาะป่า
Writer
- Admin I AM KRU.