“ข้อคิดว่าด้วยความเป็นครูแห่งยุคสมัย”

Share on

 1,317 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ

บรรยายนำในงานเสวนา Education Journey Forum “ครูในฐานะนักขับเคลื่อนการเรียนรู้บนความแตกต่างหลากหลาย”

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 เวลา 09.15 – 09.45 น.

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมโลก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งมีผลกระทบต่อครูที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ ครูต้องเตรียมพร้อมในฐานะกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนโดยเฉพาะบทบาทด้านการจัดการความรู้ การออกแบบการจัดการความรู้ สร้างวิธีการเรียนรู้ เครื่องมือสำคัญที่จะขับเคลื่อนการศึกษาให้เท่าทันกับยุคสมัยที่ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปัจจัยเร่งสำคัญที่ ครู บุคลากรทางการศึกษา หน่วยงานการศึกษาต้องปรับตัวให้ก้าวทันสถานการณ์โลก คิดไกลใฝ่รู้ มีมาตรฐานคุณภาพ เป็นครูมืออาชีพที่พร้อมสำหรับสังคมยุคใหม่ 

สรุปหัวข้อการเรียนรู้อย่างไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจนขึ้น

สังคมประเพณีไทยโลกาภิวัตน์
มนุษย์สัมผัสกับมนุษย์
ปฏิสัมพันธ์กันแบบตัวต่อตัว รวมตัวกันแบบพบปะซึ่งหน้า
สื่อ / เทคโนโลยี
ใช้เทคโนโลยีเพื่อสื่อสารระหว่างกัน
สัมพันธภาพแนวนอน
ความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรืออยู่ในตำแหน่งฐานะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน 
องค์กรขนาดใหญ่ / จากบนลงล่าง (Top to Down)
ความสัมพันธ์แบบมีลำดับขั้นอาวุโส ตำแหน่งอย่างชัดเจน เน้นการปฏิบัติตามคำสั่ง
ชุมชน
ชุมชนเป็นศูนย์รวมของผู้คนและข่าวสาร
โลกไร้พรมแดน
ชุมชนดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
วัฒนธรรมระนาดทุ้ม
บุคคลสำคัญหรือผู้ที่มีความสามารถมากแต่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ประชาสัมพันธ์ / โฆษณาชวนเชื่อ
เน้นการเข้าถึงของคนจำนวนมาก และความเด่นดัง
ความสามารถหลายทาง
เน้นความหลากหลายองค์ความรู้และทักษะความสามารถแบบเส้นบนของตัว T
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ความรู้วิทยาการขั้นสูงเน้นความรู้แบบเเชิงลึก แบบเส้นแกนตัว T 
กิจกรรมเชิงปฏิบัติ
มีความรู้ในเชิงทฤษฎี แต่นำเสนอในเชิงปฏิบัติได้ดีกว่า
การให้ความสำคัญต่อทฤษฎี
เน้นทฤษฎีและสามารถนำเสนอเป็นองค์ความรู้แบบรูปเล่ม/วิจัย สู่สาธารณะได้
ความสามารถในการ  “ด้น”
เน้นการทำงานตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การสร้างระบบ
ให้ความสำคัญกับการทำงานที่เป็นระบบมีแบบแผน
การผลิตที่เงินตราเป็นเครื่องอำนวยความสะดวก
เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน 
เงินตรากำกับชีวิต
เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดชีวิต

“ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการเรียนรู้ จงเรียนวิธีการเรียนรู้และอย่าปล่อยให้เลอะเลือนไป”

หน้าที่ สำคัญของครูในฐานะนักขับเคลื่อนแห่งยุคสมัย

สร้างประสบการณ์แห่งการเรียนรู้

จุดเริ่มต้นสำคัญหน้าที่ของครูต้องเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยรักการเรียนรู้ เปิดกว้างกับความรู้ใหม่ ๆ ให้พร้อมก้าวทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น กระตุ้นการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ และประสบการณ์การเรียนรู้ ครูต้องให้เวลากับการศึกษาค้นคว้าความรู้ให้ทันโลกที่เคลื่อนไปข้างหน้า ประสบการณ์ 3 แบบนั้นประกอบด้วย: 

  • การสร้างประสบการณ์ 
  • การรับประสบการณ์
  • การไตร่ตรองประสบการณ์

บทบาทของครูที่เสริมสร้างการเรียนรู้

ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเด็กและเกิดการ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทิศทางที่พึงประสงค์

บทบาทของครูในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

บทบาทผลที่เกิดขึ้น
การรับประสบการณ์อันหลากหลายการตื่นขึ้นรู้
การครุ่นคิด-พินิจ-นึก เกิดกระบวนการลดความเร็วของโลกปัจจุบัน
การตีความประสบการณ์ไตร่ตรอง
การเชื่อมโยงประสบการณ์วุฒิภาวะ
ทวิวัจน์ (dialogue) กลไกในการเสริมสร้างปัญญา 
การถางทางไปสู่วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ใช้วิจารณญาณ
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ร่วมกัน

“การบ้านที่ยังทำไม่เสร็จ”

สิ่งที่วัดความเป็นครูคือ “การบ้านที่เด็กมอบให้ครู” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ ได้เล่าประสบการณ์การเป็นอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย มีนักศึกษาหญิงปีที่ 1 ตั้งคำถามเป็นการบ้านสำหรับครูคนหนึ่งให้ต้องขบคิด นักศึกษาหญิงถามว่า “อาจารย์คะ มองธรรมชาติอย่างไรจึงจะเกิดปัญญา” เวลาผ่านล่วงเลยมานานนับหลายสิบปี ปัจจุบัน ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ อายุ 85 ปี แล้ว คำถามนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบ

“การบ้านที่นักศึกษาผู้นี้มอบให้เป็นสิ่งที่ครู/อาจารย์ คือสิ่งที่เรียกว่าทักษะการเรียนรู้ที่ไม่ว่าใครก็สามารถศึกษาเป็นทักษะติดตัวได้ตลอดชีวิตเรียกว่า วิธีการเรียนรู้ (learning how to learn) เพราะจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไม่ใช่เส้นทางเดินที่เดินแค่เพียงทางเดียวแต่เป็นศาสตร์วิชาความรู้ที่โยงใยเชื่อมต่อกันอย่างไม่สิ้นสุด” 

คำถามด้วยความอยากรู้จักโลกของนักศึกษาคนหนึ่งกลายขุมทรัพย์ที่ครูผู้นี้ต้องใช้ชีวิตทั้งชีวิตเพื่อแสวงหาคำตอบ 

สามารถรับฟังย้อนหลังได้ทาง : https://fb.watch/iRi6xomM-s/ 

 1,318 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า