จิตตปัญญาศึกษา เครื่องมือฟื้นฟูจิตวิญญาณครู

Share on

 3,432 

จิตตปัญญาศึกษา

เครื่องมือฟื้นฟูจิตวิญญาณครู

*********************

การกลับมาพบหน้ากันในการอบรมจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะทางจิตใจ ของคุณครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะเพื่อการโค้ชการเรียนรู้จากการทำโครงงานฐานวิจัย RBL หลังจากการผ่านช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่มีการปรับตัวของรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน ต้องยอมรับว่าส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Loss) ต่อนักเรียน แต่อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของคุณครูที่ต้องแบกรับภาระงานที่มากขึ้น ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจในการทำงานของคุณครูหลายท่านในช่วงที่ผ่านมา

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรจิตตปัญญา เพื่อพัฒนาทักษะทางจิตใจ ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะครูเพื่อโค้ชการเรียนรู้จากการทำโครงงานฐานวิจัย (RBL) มีความเชื่อว่า ความสุขของครูทั้งร่างกายและจิตใจจะส่งผลการจัดการเรียนรู้เพื่อศิษย์อย่างมีประสิทธิภาพได้  ตลอดการอบรม 2 วัน 1 คืน ทั้ง 4 ภูมิภาค เป็นการฝึกทักษะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างจุดเชื่อมโยงในการเข้าถึงความเป็นมนุษย์ของครูเองในสองจักรวาลคือ จักรวาลครอบครัวและจักรวาลห้องเรียน ที่คุณครูมีบทบาท

“การฟังด้วยใจ อย่างใคร่ครวญ”

บทบาทของครูที่เกิดขึ้นในสองจักรวาลนี้ ต่างต้องการความสมดุลและเครื่องมือที่เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความสมดุล เกิดความเข้าใจกันและกัน คือ “การฟังด้วยใจ อย่างใคร่ครวญ” จากการเข้าร่วมการอบรมจิตตปัญญานี้ เป็นเสมือนการ Set Zero ให้ครูได้เกิดสมดุลระหว่าง Heart และ Head ที่ผ่านมาระบบการศึกษาไทยต่างทำลายความสมดุลของครู ซึ่ง อาชีพครู ต้องใช้ทั้ง Heart และ Head อย่างสมดุลในการจัดการเรียนรู้เพื่อศิษย์ แต่ระบบการศึกษา ต่างมุ่งพัฒนาเฉพาะส่วน Head ของครูจนลืม Heart ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ

ในครั้งนี้ กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะครูเพื่อโค้ชการเรียนรู้จากโครงงานฐานวิจัย RBL จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการ ฟื้นฟูสมดุลทั้งสองจักรวาลของครู เริ่มด้วยการกลับไป ฟังด้วยใจอย่างใคร่ครวญ  เป็นการเตรียมพร้อมให้ครู ในด้านฐานใจ (Heart) และเตรียมพร้อมทักษะการฟังที่เป็นทักษะสำคัญของโค้ช  ที่จะกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อยากรู้ และกล้าชวนครูแลกเปลี่ยนสะท้อนคิดจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  และช่วยเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีในห้องเรียน

อีกทั้ง ในกิจกรรมยังมีการชวนมองให้เข้าใจถึงบุคลิกภาพของผู้อื่น เป็นการเตรียมพร้อมให้ครูเข้าใจความถนัด จุดเด่นจุดด้อย ของผู้อื่น เพื่อให้เกิดการเปิดกว้างภายในจิตใจ ให้มองเห็นคาแรคเตอร์ของผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย ที่เป็นทักษะสำคัญในการทำงานหรือการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น เพื่อให้ครูนำไปใช้ถ่ายทอดสู่นักเรียนหรือแม้แต่เพื่อนครูด้วยกัน เพราะการทำงานเป็นทีมต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านี้ เพื่อเข้าใจถึงความชำนาญที่ไม่เหมือนของแต่ละบุคคล จะสามารถแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละคนได้

ห้องเรียนนั้นคือพื้นที่สำคัญในการเรียนรู้  ภายในการอบรมฯกระบวนกรได้คอยทำหน้าที่สร้างบรรยากาศ ให้ทุกคนได้ร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้ทุกคนได้กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่มีการตัดสินถูกผิด ไม่ให้ไครรู้สึกอาย เพื่อจำลองให้เห็นถึงบรรยากาศในห้องเรียนที่ควรจะเป็น เด็กนักเรียนควรได้เรียนรู้ในพื้นที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดการขัดฝันดับความคิด แต่จะช่วยให้ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยครูเป็นผู้ช่วยขับเคลื่อนภายในห้องเรียน

ในกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาจึงมุ่งเน้นเปลี่ยนแปลงท่าทีทางจิตใจของครูให้ดีขึ้น  โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นตัวสื่อสารไปยังจิตใจของครู ให้ครูสามารถปรับสมดุลและดูแลในจักรวาลครอบครัวของครูและจักรวาลห้องเรียน ให้ครูเกิดความรู้สึกเชิงบวก เพราะครูเป็นคนสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เพื่อศิษย์ หากสามารถเปลี่ยนแปลงท่าทีทางจิตใจครูได้ ห้องเรียนก็จะเปลี่ยนตาม เชื่อว่าการสะท้อนคิดคุณครูผ่านกระบวนการเหล่านี้ จะสามรถทำให้ครูคำนึงถึงความสำคัญในการสอน ปรับสมดุลโดยตนเอง จนสามารถฟื้นฟูจิตวิญญาญแห่งความเป็นครูให้ออกมาได้

 3,433 

Writer

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า