“สนามพลังบวก ของครูสอนดนตรีสุดเพี้ยน “-School Of Rocks (2003)

“ฉันบอกเธอเลยว่าฉันไม่เก่ง แต่พวกเธอแค่ 10 ขวบก็เก่งกว่าฉันแล้ว” School Of Rocks (2003)

Share on

 930 

“ฉันบอกเธอเลยว่าฉันไม่เก่ง แต่พวกเธอแค่ 10 ขวบก็เก่งกว่าฉันแล้ว” คือ คำพูดที่แสนจะกินใจท่ามกลางความวายป่วงสุดขบขันในภาพยนตร์ School Of Rock ที่เมื่อตีความหมายออกมาในแง่ของการศึกษานั้นช่างลึกซึ้งและน่าสนใจเป็นอย่างมาก

School Of Rock เป็นภาพยนตร์ชื่อดังที่ว่าด้วยเรื่องของ ดูอี้ ฟินน์ นักดนตรีสุดเพี้ยนผู้ตกอับ จึงปลอมตัวมาเป็นครูสอนดนตรีในโรงเรียนประถมมีชื่อแห่งหนึ่ง เขาเปลี่ยนห้องเรียนดนตรีที่แสนน่าเบื่อให้เป็นชั้นเรียนดนตรีร็อก และพาเด็ก ๆ ในห้องเข้าสู่โลกของเสียงเพลง โดยเป้าหมายคือ การประกวดวงร็อกงานใหญ่ของเมือง

ดูอี้ ฟินน์ ทำให้เด็กหลายคนค้นพบตัวเอง เด็กบางคนเปลี่ยนจากคนขี้อาย ไม่กล้าพูด มาเขียนเพลงสุดไพเราะ บางคนไม่เชื่อมั่นในตัวเองก็ลุกขึ้นมาเล่นดนตรีอย่างหลงใหล และบางคนเป็นเด็กที่ไม่สนใจอะไรนอกจากเล่นพิเรนทร์ไปวันๆ ก็ค้นพบคุณค่าในตัวเอง แต่ทำไมการสอนที่เหมือนจะบ้าบอไปวัน ๆ กลับทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าทึ่งขนาดนี้? คำตอบคือ เพราะว่าการสอนของดูอี้ ฟินน์มีสิ่งที่เรียกว่า “จิตศึกษา” อยู่

หลายคนคงเคยเจอคุณครูที่เดินเข้ามาในห้องเรียนพร้อมไม้เรียว ดุจนไม่กล้าที่จะถาม เพราะกลัวจะโดนลงโทษที่ตามเพื่อน ๆ ไม่ทัน การลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็กนักเรียนจึงสำคัญ การพูดคุย และเป็นมิตรกับเด็ก ปรับตัวให้เข้าถึงง่ายของครูทำให้เด็กเกิด “จิตศึกษา” คือกล้าที่จะเปิดใจ กล้าที่จะปรึกษา กล้าตั้งคำถามเวลาที่ไม่เข้าใจ เปิดโอกาสให้เด็กควบคุมตัวเอง รู้เวลาเล่น เวลาเรียน เคารพซึ่งกันและกัน เป็นการมีกติการ่วมกันในห้อง และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการศึกษา

เพื่อกับมาเทียบกับกระบวนการสอนของดูอี้ทำให้เด็ก ๆ มีแรงบันดาลใจการศึกษาดนตรีด้วยตัวของพวกเขาเอง ไม่ต้องบังคับให้ตั้งใจเรียน และถึงแม้ในช่วงท้ายของหนัง ดูอี้จะถูกจับได้จนโดนไล่ออก เด็ก ๆ ก็ยังหนีเรียนมาหาเขาถึงห้องพักเพื่อไปเล่นคอนเสิร์ตในงานประกวดอย่างที่ทุกคนตั้งใจกันไว้

นอกจากการมีจิตศึกษาแล้ว วิชาดนตรีที่หลายคนมองว่าเป็นเพียงวิชาที่เรียนเพื่อฆ่าเวลา หรือไม่สำคัญ เป็นวิชาที่แท้จริงแล้วมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะเป็นแหล่งกำเนิดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็ก ๆ มีสมาธิจดจ่อ ฝึกสมองซีกซ้าย จากการอยู่กับจังหวะของดนตรี กับตัวโน้ต และฝึกซีกขวาให้ทำงานกับจินตนาการผ่านบทเพลงอย่างสมดุล

ดูอี้ ฟินน์ ไม่ได้แค่เปลี่ยนให้เด็กมีแรงบันดาลใจจากวิชาดนตรี แต่เด็ก ๆ ในห้องของเขาเองก็เปลี่ยนเขาจากพวกไม่เอาไหน ไม่รับฟังคนอื่นมายอมรับว่า เขาเองก็มีจุดบกพร่องมากมาย และพร้อมจะเรียนรู้ไปกับนักเรียนเช่นกัน

 931 

Writer

3 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า