รวมพลังนักการศึกษา เติมพลังครู ตชด.

เวทีสะท้อนผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาโจทย์การทำงาน สู่การปฏิบัติจริง ของโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปี 2564

Share on

 1,480 

เวทีสะท้อนผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาโจทย์การทำงาน สู่การปฏิบัติจริง ของโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปี 2564 เป็นการดำเนินโครงการเข้าสู่ ปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง มีโรงเรียน ตชด. เข้าร่วมโครงการ 70 แห่งทั่วประเทศ และในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมโค้ชในพื้นที่ 3 ประเด็น คือ
1) การทำงานกับมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ตชด. การดำเนินงานตาม
2) มาตรการโรงเรียน ตชด. สุขภาวะปลอดภัยน่าอยู่ น่าเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา
3) การเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินโครงการ 5 มิติ (ผู้เรียน, ครูผู้สอน, ครูใหญ่, ชุมชน, บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ตชด. และ โรงเรียนร่วมพัฒนา) ที่จะเข้าไปเสริมพลังในการพัฒนาครูและโรงเรียน ตชด.

‘โค้ชในพื้นที่’ หรือ อดีตครู ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ที่เกษียณอายุแล้ว ยังคงมีแรงผลักดัน เวลา และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ได้เข้ามาทำหน้าที่ในการดูแลโรงเรียน ตชด. และดำเนินงานประสานกับ กสศ. มหาวิทยาลัย และ ตชด. ในพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดสงขลา,ตรัง,สตูล และพัทลุง
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดเลย
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราด
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและบึงกาฬ
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก,เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
· ทีมโค้ชพื้นที่จังหวัดตาก

ทีมโค้ช ได้ใช้เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพครูเพื่อลูกศิษย์ 4 Q สร้าง 2 Q หนุน 2 Q เสริม 1 มาตรการสานพลังร่วม ประกอบด้วย

1. การสร้างมาตรฐานคุณภาพ ประกอบด้วย Q Goal / Q Principle / Q Info / Q Health

Q-Goal หมายถึง โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน

Q-principle หมายถึง ครูใหญ่สามารถบริหารจัดการโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญ

Q-Info หมายถึง มีระบบข้อมูลและสารสนเทศในการติดตามดูแลผู้เรียนเป็นรายบุคคล

Q-Health หมายถึง การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างบรรยากาศโรงเรียนสุขภาวะปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน

2.การใช้กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย Q OLE / Q Classroom

Q-OLE หมายถึง การมีการจัดแผนการเรียนการสอน

Q-Classroom หมายถึง จัดการเรียนรู้แบบ active learning

3) การมีมาตรการเครือข่าย ประกอบด้วย Q PLC / Q Network

Q-PLC หมายถึง มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของครู เพื่อการพัฒนานักเรียน

Q-Network หมายถึง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครือข่ายโรงเรียนอื่น เน้นโรงเรียนใกล้เคียง รวมถึงโรงเรียน สพฐ. ร่วมพัฒนา เป็นต้น

ซึ่งจะเป็นการกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาครู ที่จะเกิดผลลัพธ์กับนักเรียนในด้าน ASK คือ เจตคติ สมรรถนะทักษะ และความรู้ ที่เป็นไปตามระดับชั้นการเรียนของผู้เรียน

 1,481 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า