ครูรัก(ษ์)ถิ่น สานฝันให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล

Share on

 3,521 

ครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้เป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้เป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลเกิดขึ้นจากปัญหาสำคัญคือการขาดแคลนครู และครูไม่ถูกบรรจุในพื้นที่ที่เหมาะสม ครูจากภาคกลางไปบรรจุภาคเหนือ ครูจากภาคใต้ไปบรรจุภาคอิสาน ทำให้ไม่รู้บริบทของชุมชน ทั้งเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรมต่าง ๆ พอการปรับตัวยากความสุขในการทำงานก็น้อยลง ที่เห็นได้อย่างชัดเจนเช่น ครูไม่เข้าใจภาษาหลักของนักเรียนชาติพันธุ์ก็ยิ่งทำให้เกิดระยะห่างในการเข้าใจซึ่งกันและกัน

.

ฉะนั้น การผลิตครู ที่มีความเข้าใจต่อบริบทพื้นที่ วิถีวัฒนธรรม ภาษาท้องถิ่น อัตราลักษณ์เฉพาะถิ่น ภูมิปัญญา และสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะชีวิตให้เกิดกับผู้เรียนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ก็คงต้องเป็น ครู ที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้น การเรียนการสอนก็จะอยู่เพียงในห้องเรียนและไม่เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้เรียน อีกทั้งสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ครูจะมีบทบาทมากกว่าการสอนในโรงเรียน เพราะต้องมีบทบาทเป็นนักพัฒนาชุมชนควบคู่กับการร่วมคิด ร่วมทำไปพร้อมกับคนในชุมชนเพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ แน่นอนว่าความยั่งยืนในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ถ้าปัญหาการขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกลยังเป็นเช่นเดิม

.

ด้วยปัญหาการขาดแคลนครูที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องกับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล กลไกในการเพิ่มโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทางสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถาบันการศึกษา กสศ. พร้อมด้วย 7 สถาบันอุดมศึกษา ร่วมลงนามความร่วมมือเป็นสถาบันผลิตครูและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปี 2565 และร่วมรับฟังกระบวนทัศน์การผลิตครูเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งสู่การพัฒนาครูของประเทศไทยอย่างชัดเจน

.

โดย รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ประธานอนุกรรมพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ได้กล่าวถึงความมุ่งมั่นของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ว่า “เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการผลิตครูจากศูนย์กลางไปสู่การผลิตครูที่สอดคล้องกับพื้นที่ เน้นไปที่ผู้เรียนกำกับตัวเอง (Self-Directed Learning) ครูต้องเปลี่ยนบทบาทการเป็นครูผู้สอนไปสู่การเป็น ครูโค้ช อำนวยความสะดวก จัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้ศึกษาสอดคล้องกับบริบทชุมชน ฐานทรัพยากร วัฒนธรรม นอกจากนี้ครูยังมีบทบาทมากกว่าผู้สอน แต่ต้องเป็นนักพัฒนาและนำการเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชน ครูจึงต้องได้รับการบ่มเพาะสมรรถนะที่หลากหลาย เป็นครูคุณภาพที่ทำงานกับชุมชนได้”

 3,522 

Writer

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า