สร้างคุณภาพ “ครูรัก(ษ์)ถิ่น” สู่รุ่นที่ 2 ลดเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง

ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นที่ 2: บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการศึกษาให้ เติบโตในพื้นที่ห่างไกล

Share on

 1,248 

ครูรัก(ษ์)ถิ่น: ต่อยอดความฝันที่จะเป็นครูเพื่อความเสมอภาคทางการ
ศึกษาอย่างยั่งยืน

โครงการ “ครูรัก(ษ์)ถิ่น” เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักความเป็นครูแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์สามารถพัฒนาทักษะวิชาชีพครูได้ โดยมุ่งหวังให้ครูรัก(ษ์)ถิ่นทุกคนนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปต่อยอดเพื่อลดความแตกต่างในแง่ของคุณภาพการศึกษาระหว่างสถานศึกษาในท้องถิ่นกับสถานศึกษาในเมือง

ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการประจำสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครูและสถานศึกษาแห่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) อธิบายว่าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสร่วมพัฒนาท้องถิ่นผ่านการร่วมขับเคลื่อนด้านการศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจาก 15 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ 

“เราจะคัดเลือกเด็กที่เข้าโครงการโดยอาศัยฐานข้อมูลจากสพฐ. เมื่อได้ข้อมูลนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายในแต่ละตำบล เราจะพิจารณาให้นักเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านความรู้พื้นฐานอย่างภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์เพื่อเข้าร่วมโครงการตามโควตาที่กำหนด”

เสริมความพร้อมในการเรียนด้วยการปรับพื้นฐานและให้เงินสนับสนุน

ดร.อุดมเล่าถึงโปรแกรม Enrichment ซึ่งให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก เนื่องจากเด็กทุกคนมีพื้นฐานทางด้านครอบครัวแตกต่างกัน ครูรัก(ษ์)ถิ่นต้องการให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้จึงปรับพื้นฐานความรู้วิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ รวมถึงส่งเสริมทักษะด้านการเงินขั้นพื้นฐาน เด็กจะได้วางแผนการใช้จ่ายโดยมีรายรับจากค่าครองชีพเดือนละ 6,000 บาทและค่าเอกสาร 2,000 บาท โครงการเล็งเห็นว่าการใช้เงินให้เหมาะกับรายรับและสภาพเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย

โครงการยังให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพครูเพื่อให้ครูกลายเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น นอกเหนือจากทักษะวิชาชีพครู ทักษะการปรับตัวยังเป็นสิ่งสำคัญเพราะเด็กที่มาจากพื้นที่ชนบทต้องใช้เวลาปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาในเมืองที่ตนสังกัด ทักษะการปรับตัวจะทำให้เด็กสามารถเป็นผู้เรียนที่ดีและเป็นครูที่มีศักยภาพในอนาคต

ความร่วมมือจากแต่ละฝ่ายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สถานบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการผลักดันให้เด็กสามารถเติบโตและกลายเป็นครูในบ้านเกิดอย่างมีคุณภาพโดยอาศัยการออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้รับทุนมีข้อสัญญาที่จะต้องเป็นครูในภูมิลำเนาของตนเองอย่างน้อย 6 ปีก่อนจะสามารถย้ายไปพื้นที่อื่นตามต้องการ

“มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการจะคอยให้ความช่วยเหลือเด็กทั้งด้านวิชาการ เทคนิคหรือการส่งเสริมรูปแบบอื่นเป็นระยะเวลา 10 ปีควบคู่กับการดูแลจากโรงเรียน ทุก 1 ปีจะมีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและปรับรูปแบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เราควบคุมคุณภาพการให้ความรู้ด้วยการมอบหมายให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแลเด็กเพียงหนึ่งคน เพราะเราเล็งเห็นว่าการพัฒนาครูในท้องถิ่นจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาในระดับประเทศ”

หัวใจที่เปี่ยมไปด้วยปณิธาน

“เราเห็นพัฒนาการของเด็กจากแววตาที่เต็มไปด้วยความแน่วแน่ เขาตระหนักว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับโอกาสอย่างเขา เพราะฉะนั้นเขาจึงมีปณิธานและความมุ่งมั่นที่จะเป็นครูที่ดีให้สมกับที่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมโครงการนี้”

ดร. อุดมเล่าประสบการณ์จากการลงพื้นที่เพื่อค้นหาเด็กที่มีแนวโน้มที่จะเป็นครูที่ดีในอนาคต 

หนึ่งโอกาสที่เปลี่ยนชีวิต

“พ่อแม่ของเด็กชนกลุ่มน้อยบางคนไม่อยากจะเชื่อว่าลูกจะมีโอกาสได้เรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พวกเขาเล่าว่าลำพังส่งลูกเรียนจบมัธยมปลายถือเป็นงานหนักแล้ว แต่ตอนที่ได้ลงจากดอยเพื่อส่งลูกเข้ามหาวิทยาลัยถือเป็นช่วงเวลาที่น่าประทับใจที่สุด ลูกภูมิใจที่ได้ทำให้พ่อแม่มีความสุข จากเดิมที่เขาเป็นคนเขินอาย วันนี้เขากลายเป็นคนกล้าแสดงออกและไม่ประหม่าที่จะเป็นผู้นำ การได้มองเห็นพัฒนาการของเด็กๆ จึงเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้เรารู้ว่าผลจากความทุ่มเทที่ทำลงไปไม่ได้สูญเปล่า”

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสถานศึกษาจึงทำให้โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เมล็ดพันธุ์ครูผลิดอกออกผลและกลายเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล

 1,249 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า