กระบวนการผลิตครูตั้งแต่ “ต้นน้ำ”

ต้นแบบพัฒนาครูแนวใหม่ "กระบวนการผลิตครูตั้งแต่ ต้นน้ำ"

Share on

 1,918 

ต้นแบบพัฒนาครูแนวใหม่ “กระบวนการผลิตครูตั้งแต่ ต้นน้ำ”

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ดำเนินโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น ก้าวสู่ปีที่ 3 เป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับการพัฒนาต้นแบบการผลิตครูรุ่นใหม่ในระบบปิดให้สอดรับตรงกับความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกัน ดร.วิชญา ผิวคำ อาจารย์ประจำสาขาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตครูตั้งแต่ “ต้นน้ำ” คือ ขั้นตอนการรับสมัครนักศึกษา ที่ทำให้รู้จักตัวนักศึกษา รู้จักบริบทพื้นฐาน เพื่อให้สถาบันผลิตครูสามารถออกแบบหลักสูตรไปตอบสนองบริบทชุมชนได้โดยตรง ซึ่งต่างจากเดิมที่หลักสูตรผลิตครูจะใช้ตามหลักสูตรอุดมศึกษาแกนกลาง

ลงพื้นที่โรงเรียนปลายทาง ปลูก “จิตวิญญาณความเป็นครู”
จากการออกแบบให้นักศึกษาไปลงพื้นที่โรงเรียนปลายทางที่นักศึกษาต้องไปบรรจุ ทำให้นักศึกษาเกิดแรงบันดาลใจให้พวกเขาตั้งใจเรียนและกลับไปสอนหนังสือในที่มีคนรอพวกเขากลับไปสอนหนังสือ และการได้รับโอกาสได้มาเรียนในครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง แต่การเรียนครั้งนี้ เพื่อพ่อแม่และเด็ก ๆ ในพื้นที่รอเขาอยู่ด้วย

“โครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น เป็นต้นแบบการผลิตครูแนวใหม่ ทำให้แต่ละภูมิภาคสามารถมีรูปแบบการผลิตครูที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ของตัวเองได้ดี การมีกระบวนการเฉพาะในพื้นที่ ก็จะช่วยให้เรียนรู้บริบทพื้นที่ วัฒนธรรม เพราะการเข้าใจเด็กไม่ใช่แค่เข้าใจตัวเอง แต่ต้องเข้าใจบริบทพื้นที่วัฒนธรรมด้วย ในระยะยาวโครงการนี้จะเป็นต้นแบบที่ดีกับประเทศไทยได้” ดร.วิชญา กล่าว

การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ “ต้นน้ำ” คัดกรองจนมั่นใจว่าได้คนที่เหมาะสมเป็นครูจริง ๆ
“กระบวนการผลิตครูในระบบปิด ตั้งแต่การรับคนที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ผ่านกระบวนการคัดกรองจนเกิดความมั่นใจว่าคนนี้เหมาะที่จะเป็นครูจริง ๆ ในการเรียนการสอนที่พัฒนาวิชาแนวข้างเพิ่มเติมจากวิชาชีพครู เป็นการผลิตครูอย่างประณีตให้ได้ครูที่มีจิตสำนึก มีจิตวิญญาณความเป็นครู รักท้องถิ่น จบแล้วกลับไปพัฒนาพื้นที่บ้านเกิด และยังเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เริ่มตั้งแต่การให้ทุนการศึกษาที่ควบคู่กับกระบวนการพัฒนาครูเพื่อกลับไปสอนหนังสือและพัฒนาชุมชน”

Enrichment Program เสริมความพร้อมสู่นักพัฒนาชุมชน
“จากเดิมคณะฯ ก็เป็นที่สนใจของนักศึกษา แค่อยู่เฉย ๆ ก็มีนักศึกษามาสมัครจำนวนมาก แค่รอการคัดเลือกจากนักศึกษาที่มาสมัคร แต่ก็จะทำให้รู้จักกับนักศึกษาแค่ช่วงเวลาที่สัมภาษณ์ แต่โครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น ทำให้ต้องลงไปค้นหาเด็กไปรู้จักครอบครัว เห็นความเป็นอยู่ของเด็ก เวลาที่เด็กมีปัญหาก็จะได้เข้าใจและแก้ปัญหาได้อย่างทันที และอีกด้านของเป้าหมายการผลิตครูที่ออกไปเป็นนักพัฒนาชุมชน จะมีกิจกรรม Enrichment Program เช่น การเข้าค่ายครูดีในดวงใจ เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น จะทำให้จบออกไปมีความพร้อมในการกลับไปเป็นครูนักพัฒนาชุมชน ที่หลายคนสะท้อนความภูมิใจ และมีแรงบันดาลใจที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของเขา” ผศ.เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าว

 1,919 

Writer

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Most Popular

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า